หลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน เพื่อพิจารณาลดผลกระทบ ต่อโครงการ กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2557-11-19T12:41:36Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาหลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน เพื่อพิจารณาลดผลกระทบต่อโครงการ กรณีศึกษาโครงการแหล่งน้ำ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนอย่างเป็นรายลักษณ์อักษร ที่แสดงถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านชดเชยทรัพย์สินให้กับหน่วยงานที่สนใจ ทำให้สามารถรับทราบขั้นตอนในรายละเอียดอย่างถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และหลักเกณฑ์ และนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราษฎรที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกินและทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิต โดยจะต้องดำเนินการจ่ายค่าทดแทนหรือค่าชดเชยทรัพย์สินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและเพียงพอที่จะไปประกอบอาชีพในพื้นที่ใหม่ โดยให้เขามีชีวิตที่ไม่ด้อยไปกว่าที่เดิม หรือให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม ผลของการศึกษา ถ้ามีการก่อสร้างโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ จะต้องมีการดำเนินงานพัฒนาและก่อสร้างระบบชลประทาน และองค์ประกอบโครงการต่างๆ จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน หรือจ่ายค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของราษฎรและของรัฐ พร้อมทั้งจ่ายค่าชดเชยพืชผลและไม้ยืนต้น จากการสำรวจและคำนวณค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินประกอบไปด้วยค่าชดเชยที่ดินประมาณ 781 ล้านบาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างประมาณ 15 ล้านบาท ค่าชดเชยพืชผลและ ไม้ยืนต้นประมาณ 19 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้งสิ้นประมาณ 815 ล้านบาท หรือคิดจากงบประมาณ ค่าก่อสร้าง / แผนงานก่อสร้างทั้งหมด 13,150 ล้านบาท หรือค่าชดเชยทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็น ร้อยละ 6.20 ของโครงการ

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

หลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน, การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ

การอ้างอิง