Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4509
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฉัตรา โพธิ์พุ่มen_US
dc.date.accessioned2557-11-25T06:49:44Z-
dc.date.available2557-11-25T06:49:44Z-
dc.date.issued2557-11-25T06:49:44Z-
dc.identifier.citationฉัตรา โพธิ์พุ่ม. 2557. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4509-
dc.descriptionมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)(2)ศึกษาการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารทรัพยากรบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล (3)ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)(4)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)และ (5)ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชนกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 3 ท่าน โดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และบุคลากรระดับผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วยระดับปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 287 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.960 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจภาครัฐ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 และด้านประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 การบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านความแตกต่างตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารงานบุคคล มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านภาวะผู้นำ และด้านบริหารทรัพยากรบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่า ตัวแปรตำแหน่งตามวิชาชีพ (เทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ และเภสัชกร) ตัวแปรอายุงาน(น้อยกว่า 1ปี)ตัวแปรรายได้ต่อเดือน (ระหว่าง 15,001- 25,000 บาท) ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล ปัจจัยอีก 6 ด้าน พบว่ามีเพียง 5 ปัจจัย ได้แก่ ตัวแปรด้านโครงสร้างองค์การ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านภาวะผู้นำ มีอิทธิพลต่อการบริหารงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ปัญหาอุปสรรค พบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 36.36 รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมองค์การ คิดเป็นร้อยละ 27.28 ส่วนด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านโครงสร้างองค์การ มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 18.18 ผู้บริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้รูปแบบองค์การมหาชนในการบริหารสาธารณสุขไทย แต่ควรได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายอย่างจริงจังจากรัฐบาล และการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆในการบริหารองค์การ รวมไปถึงการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานen_US
dc.subjectโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.