Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4510
Title: ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม
Authors: เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจ
Keywords: ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม
Issue Date: 25-November-2557
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (2)เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (4)เพื่อศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (5)ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม และ (6)ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาข้อมูลจากพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 304 คน และประชาชน จำนวน 200 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวมจำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า (1)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านปัจจัยภายนอกมีปัจจัยกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับปัจจัยภายในมีปัจจัยภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2)ระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการสาธารณะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับ ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจมากที่สุด (4) ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านภาวะผู้นำ วิธีการบริหารงาน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยที่สามารถนำมาสร้างเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ (5)ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ค้นพบ ประกอบด้วย 1)ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 2)กฎ ระเบียบข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 3)พนักงานมีทัศนคติเชิงลบต่อนโยบายใหม่ๆ 4)ให้ความสำคัญกับการขอปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้นมากกว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เหมาะสมกับการเลื่อนตำแหน่ง 5)การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และกฎระเบียบขาดความเหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน 6)พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา 7)พนักงานขาดศักยภาพในการเรียนรู้ และ 8) จำนวนพนักงานไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และ (6)แนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานมีดังนี้1)ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2)จัดทำแผนให้ครอบคลุมครบทุกมิติ 3)การจัดทำข้อตกลงเพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน (MOU)กับหน่วยงานอื่นๆ 4)การจัดประชุมพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน 5)มีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของนโยบายต่อพนักงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องทั้งองค์การ 6)การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และการปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้น 7)นำความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชนเป็นตัวตั้งในการกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย 8)พิจารณาถึงผลกระทบต่อท้องถิ่น/ชุมชน และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นก่อนกำหนดกิจกรรมในพื้นที่ 9)กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานในการขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม 10)เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และส่วนราชการอื่นๆ ได้เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 11)จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานสมัยใหม่ให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง 12)จัดทำระบบพี่เลี้ยงเข้ามาให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานแก่พนักงาน 13)สนับสนุนให้มีการนำวิธีการบริหารงานสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และ 14)จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามนโยบาย
Description: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4510
Appears in Collections:S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.