การนำนโยบายการศึกษาของสงฆ์ไปปฏิบัติ : วิเคราะห์การดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาถึงระดับการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 2)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 4)เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในระดับผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายปฏิบัติการ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย จำนวน 250 รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ทุกขั้นตอนพบว่า จากการศึกษาสภาพการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างการดำเนินการนโยบายการศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมุ่งให้การศึกษา การวิจัยทางพระพุทธศาสนา การให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการดำเนินการการนำ นโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่กำหนดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ด้านการให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการดำเนินการการนำนโยบาย การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติโดยรวม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านขอบข่ายนโยบาย ด้านทรัพยากรนโยบายด้านการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมีผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยก็พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยยังมีบุคลากรด้านการวิจัยไม่เพียงพอและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนของมหาวิทยาลัยยังมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีไม่มากพอ เป็นต้น ประเด็นปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้เพื่อให้การดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มที่ขาดทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง รวมทั้งการแสวงหาวิธีการให้บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบของการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เพื่อนำเสนอให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การนำนโยบายการศึกษาสงฆ์ไปปฏิบัติ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การอ้างอิง

พระมหามหรรถพงศ์ ศรีสุเมธิตานนท์. 2557. "การนำนโยบายการศึกษาของสงฆ์ไปปฏิบัติ: วิเคราะห์การดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ วิทยาคารพญาไท. "