Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4522
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ศึกษากรณีสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาและผู้บริโภค
Authors: จิราภา พงษ์พันธ์
Keywords: ซื้อขายสินค้าออนไลน์
กรณีสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาและผู้บริโภค
Issue Date: 26-November-2557
Abstract: วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้สืบเนื่องมาจากสภาพสังคมในปัจจุบันการซื้อขายสินค้าได้เปลี่ยนแปลงไปโดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า “การซื้อขายสินค้าออนไลน์” ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องเดินทางมาพบหน้ากัน เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ กล่าวคือ การซื้อสินค้าออนไลน์นั้นผู้ซื้อไม่เคยได้สัมผัสจับต้องสินค้ามาก่อน ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อเพียงเพราะเห็นจากรูปภาพและรายละเอียดของสินค้าที่ผู้ขายได้ระบุไว้เท่านั้น ดังนั้นผู้ขายจึงเป็นผู้รู้ข้อมูลของสินค้ามากกว่าผู้ซื้อ ทำให้การรับรู้ข้อมูลสินค้าไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนสองฝ่ายที่ได้ทำธุรกิจกันทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน กฎหมายในปัจจุบันที่นำมาปรับใช้ก็คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นมาเพื่อใช้รองรับการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม จึงยังไม่มีความชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายหลายประการเช่น ปัญหาการให้ข้อมูลของคู่สัญญา ซึ่งยังไม่มีกฎหมายกำหนดว่าข้อมูลใดบ้างที่ผู้ขายจะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบก่อนการตัดสินใจเพื่อเข้าทำสัญญา ปัญหารูปแบบการทำสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญา ผู้บริโภคไม่ได้รับสำเนาสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภคจะเก็บรักษาและพิมพ์ข้อมูลการซื้อขายเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่ตามมา อาทิเช่น ผู้ซื้อไม่ทราบว่าจะได้รับสินค้าในวันใด หากผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้าภายในกี่วัน ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเลิกสัญญาและได้รับเงินคืนภายในกี่วัน ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันไม่ได้บัญญัติระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีเหล่านี้ไว้ รวมทั้งหากเกิดข้อพิพาทขึ้นจะมีวิธีจัดการกับข้อพิพาทอย่างไรที่ผู้บริโภคไม่ต้องดำเนินคดีที่ศาลที่มีความเคร่งครัดและ ยุ่งยาก ประการสุดท้าย โทษของผู้กระทำความผิดที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ทำให้ผู้กระทำความผิดเกิดความเกรงกลัวแต่อย่างใด จึงมักเกิดปัญหาการทำผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จึงจำเป็นต้องแก้ไขข้อบกพร่องของกฎหมายนี้ให้หมดไป ดังนั้นผู้เขียนขอเสนอแนะให้มีการการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522ในมาตรา 14 ให้มี “คณะกรรมการว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” และให้มีบทบัญญัติในส่วนที่ 2 ตรี ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้กฎหมายมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าออนไลน์ อันจะก่อให้เกิดหลักปฏิบัติที่มีความเท่าเทียมกันต่อคู่สัญญาและผู้บริโภค
Description: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4522
Appears in Collections:11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.