กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4525
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมี ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจใน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สำเริง ไกยวงค์
คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจัยเชิงสาเหตุ
ประโยชน์ทางธุรกิจ
ทุนองค์กร
วันที่เผยแพร่: 3-ธันวาคม-2557
แหล่งอ้างอิง: สำเริง ไกยวงค์. 2557. "ปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมี ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจใน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์กรธุรกิจจำนวน 476 องค์กรถูกเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกโดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการเผยแพร่ความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อพนักงาน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่ ผลิตภาพการผลิต พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี และการรักษาพนักงานไว้ในองค์กร 2. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการแสวงหาความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อนวัตกรรม 3. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาดและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าและพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี 4. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น แต่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อ ผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไร แต่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อผลิตภาพการผลิต 5. วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด การแสวงหาความรู้ และการเผยแพร่ความรู้ในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อชุมชน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อชุมชนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กร 6. วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง การตีความหมายของความรู้ และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลิตภาพการผลิต นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางอ้อม เชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่และผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถ ในการทำกำไรโดยมีความภักดีของลูกค้าเป็ นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงลบต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรกการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4525
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น