กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4529
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพ การศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กานต์ เสกขุนทด
คำสำคัญ: การนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วันที่เผยแพร่: 4-ธันวาคม-2557
แหล่งอ้างอิง: กานต์ เสกขุนทด. 2558. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพ การศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ วิทยาคารพญาไท.
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ เพื่อหาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ และ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง 15 แห่ง จำนวน 689 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยด้านการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยด้านศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2.บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยด้านการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยด้านศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน 3.ปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ และปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.สมการพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ เขียนในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ =1.360+.673X10+.410X7+ .217X9+ .170X2+ .117X12+ .098X8+ .066X3-.055X1 จากสมการแสดงว่า เมื่อเพิ่มหรือลดการบริหารจัดการในหน่วยปฏิบัติ (X10)การพัฒนาบุคลากร (X7) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X9) ความสอดคล้องของแนวปฏิบัติ (X2) ระบบการทำงาน (X12) โครงสร้างองค์การ (X8) มาตรฐานนโยบาย (X3) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางเดียวกัน และเมื่อเพิ่มหรือลดวัตถุประสงค์นโยบาย (X1) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางตรงกันข้าม และ = .803+.800ORG+.192POL+ .167SUP จากสมการแสดงว่า เมื่อเพิ่มหรือลดปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติ(ORG)ปัจจัยสาระนโยบาย (POL)และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน(SUP) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางเดียวกัน 5.การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยว่า ปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ และปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4529
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น