Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพีรพงศ์ รำพึงจิตต์en_US
dc.date.accessioned2558-01-06T12:47:01Z-
dc.date.available2558-01-06T12:47:01Z-
dc.date.issued2558-01-06T12:47:01Z-
dc.identifier.citationพีรพงศ์ รำพึงจิตต์. 2558. "การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4532-
dc.descriptionมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ใน 2 ประเด็น คือ (1.1) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ (1.2) ศึกษาการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามแนวทางการพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ และ (3) แสวงหาแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาวิธีการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้บรรลุเป้าหมายในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยนำการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ในการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการวิจัยแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชากรกลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ มีจำนวน 240 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) กลุ่มหัวหน้างาน (3) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (4) กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ และ (5) กลุ่มแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจัยการบริหารองค์การที่จะช่วยเสริมสร้างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมองค์การแบบ Apollo) รองลงมาคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (การมีอิทธิพลต่ออุดมการณ์) และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (พัฒนาจากภายนอกภาคราชการ) ตามลำดับ ส่วนระดับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีมิติด้านประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิผล และมิติด้านการพัฒนาองค์การมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยการบริหารองค์การทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สามารถพยากรณ์ความเป็นไปได้ที่มีผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ มีความสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารองค์การกับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดen_US
dc.subjectการพัฒนาองค์การen_US
dc.subjectปัจจัยการบริหารองค์การen_US
dc.subjectการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์en_US
dc.titleการพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด = NEW PUBLIC ORGANIZATION DEVELOPMENT OF THEOFFICE OF THE NARCOTICS CONTROL BOARDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.