Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4580
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี: FACTORS AFFECTING PUBLIC POLICY ON DRUG PREVENTION TO PRACTICE. A CASE STUDY OF NONTHABURI POLICE STATION.
Authors: ต่อสกุล มีศิริ
Keywords: การนำนโยบายสาธารณะ
ปัญหายาเสพติด
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด
Issue Date: 25-July-2559
Abstract: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อการนำนโยบายสาธารณะเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรีและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยแต่ละด้านกับผลของการนำนโยบายสาธารณะเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตำรวจภูธร เมืองนนทบุรี ด้วยการการแจกแบบสอบถาม จำนวน164 ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 31-35 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ส่วนมากชั้นสัญญาบัตร มีอายุราชการ 1-5 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท มีประสบการณ์ในการจับกุมคดียาเสพติด ประเภทการกระทำผิดคดียาเสพติดที่สามารถจับกุมได้ คือ จำหน่ายยาเสพติด จำนวนคดียาเสพติดที่ดำเนินการจับกุมได้ 151-200 คดีต่อปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติโดยรวมมากที่ค่าเฉลี่ย 3.95 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่ค่าเฉลี่ย 4.76 รองลงมาปัจจัยด้านสภาวะทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ค่าเฉลี่ย 4.23 รองลงมาปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ค่าเฉลี่ย 4.09 รองลงมาปัจจัยด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติที่ค่าเฉลี่ย 4.04 รองลงมาปัจจัยด้านการสนับสนุนของหน่วยปฏิบัติที่ค่าเฉลี่ย 3.98 รองลงมาปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการที่ค่าเฉลี่ย 3.53 และปัจจัยด้านงบประมาณและแรงจูงใจที่ค่าเฉลี่ย 2.98 ตามลำดับ ระดับผลของการนำนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ไปปฏิบัติ โดยรวมมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.95 ซึ่งควรมีการจัดการความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ของชุมชนที่นำไปสู่การสร้างความยั่งยืนในการทำงาน โดยใช้กลไกสถาบันวิชาการในพื้นที่ และนำมาเผยแพร่และขยายผลทุกระดับ และควรพัฒนาโปรแกรมที่ดีและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาได้ของต่างประเทศมาทดลองปฏิบัติใช้ในชุมชนไทยที่ยังคงมีปัญหายาเสพติดสูง
Description: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4580
Appears in Collections:GRA-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ต่อสกุล มีศิริ.pdf308.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools