การแสดงภาพสีจริงแบบหมุนรอบทิศทาง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

โครงงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอระบบการออกแบบและเครื่องมือของระบบหน้าจอสีเหมือนจริงโดยใช้ไดโอดเปล่งแสง และมีมุมมองภาพ360 องศา ที่ประหยัดพลังงานแบบต้นทุนต่ำ ระบบหน้าจอแบบไดโอดเปล่งแสง ใช้โครงสร้างการตรวจสอบการแสดงภาพแบบรอบด้านโดยเซนเซอร์ตรวจจับองศาการหมุน และการควบคุมความคมชัดด้วยการผสมผสานระหว่างเวลาและพื้นที่เพื่อให้การแสดงผลได้รอบทิศทาง และการแก้ปัญหาการจำนวนหลอดไดโอดเปล่งแสง ที่ต้องใช้จำนวนมากจากความละเอียดหน้าจอแสดงผลขนาด 120x320เป็นจำนวน 38,400 ดวง โดยจะใช้ไดโอดเปล่งแสง เพียงแถวเดียวคือแกน120 ดวง และใช้การหมุนรอบตัวเป็นวงกลมแทนการแสดงผลของแกน320 ดวง มีการกำหนดความถี่ของการแสดงภาพและความเร็วของการหมุนสูงเพียงพอต่อการมองเห็นได้อย่างชัดเจนราบเรียบและไม่รู้สึกตาลาย ดังนั้นเมื่อการแสดงผลที่ปรากฏขึ้นจะเหมือนว่าไดโอดเปล่งแสง เปล่งแสงตลอดเวลาและให้ภาพสีสันสดใสสามารถมองเห็นได้จากทุกๆมุมรับภาพ และกระบวนการทางจัดเรียงข้อมูลของจอแสดงผลจากการประมวลผลในโปรแกรมเอฟพีจีเอ ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าระบบการแสดงผลแบบไดโอดเปล่งแสง มีประสิทธิภาพและคุณภาพในการแสดงผลที่ในระดับที่ดี โดยเปรียบเทียบกับหน้าจอ ไดโอดเปล่งแสง ที่เป็นระบบจุดแบบเก่าหรือเปรียบกับหน้าจอไดโอดเปล่งแสงโดยทั่วไป

คำอธิบาย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การแสดงภาพสีจริง, ไดโอดเปล่งแสง, ทฤษฎีเอฟพีจีเอ, พัลซ์วิทมอดูเลต, การสร้างสัญญาณพัลซ์วิทมอดูเลต, ทฤษฎีมอเตอร์กระแสตรง

การอ้างอิง

ดำรงศักดิ์ วงศ์เพ็ง, ธีรวัฒน์ สุดสา, และภาณุพงศ์ หมื่นจิตร. 2555. "การแสดงภาพสีจริงแบบหมุนรอบทิศทาง." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.