CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธงธรรม เจียงสถาพรงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์บริบทของความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3) จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ สถานประกอบการจำนวน 264 แห่ง และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในการวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกประกอบไปด้วย 1) การลงทุนด้านเฉพาะทาง 2) การจัดการความเสี่ยงร่วมกัน 3) การร่วมกันในการตัดสินใจ 4) การสื่อสารการทำงานร่วมกัน 5) การดำเนินงานร่วมกัน และ 6) การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.77, 0.72, 0.67, 0.65, 0.62 และ 0.54 ตามลำดับ ในขณะที่ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองรองบนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การยกระดับศักยภาพพื้นที่ 2) การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ และ 3) การส่งเสริมความร่วมมือรายการ การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทานสำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธีร์วรา บวชชัยภูมิงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของนวัตกรรมโซ่อุปทาน การดำเนินงาของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การปรับตัวโซ่อุปทานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทาน สำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานและการปรับตัวของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดใหญ่โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ตามกลุ่มกิจกรรมได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 330 บริษัทโดยสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็นด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระดับผู้บริหาร จำนวน 15 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบและทดสอบสมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างและ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทานสำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น ได้แก่ นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมองค์กร ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ดัชนีความกลมกลืนของโมเดล พบว่า มีค่า CMIN/df = 1.086, p = 0.346, GFI=0.982, AGFI=0.964, RMSEA=0.016, CFI=0.999, NFI = 0.993 แสดงให้เห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับแนวทางการดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ตระหนักและให้ความสำคัญในนวัตกรรมโซ่อุปทานซึ่งมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการพัฒนาเสริมสร้างด้าน ความเสี่ยงโซ่อุปทาน การปรับตัวองค์กร การปรับตัวด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการปรับตัวโซ่อุปทานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งต้องมีการประเมินผล สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญ มีทักษะ มีความรู้ มีความสามารถในการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ซึ่งส่งผลให้องค์การมีศักยภาพการดำเนินงานการเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ซึ่งได้รับการยอมรับ ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจจากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรายการ กลยุทธ์การจัดการโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศ : กรณีขนส่งทางทะเล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุณัฐวีย์ น้อยโสภางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางเรือ 2) เพื่อสำรวจแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวของผู้ประกอบการรายใหญ่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางทะเลและเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อภาธุรกิจและภาครัฐในการกำหนดนโยบายระดับประเทศและการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวทางเรือมีรูปแบบการขนส่ง 2 รูปแบบคือการส่ออกแบบรรทุกลงเรือใหญ่ และรูปแบบการส่งออกแบบบรรจุคอนเทนเนอร์ ทั้งสองรูปแบบจะมีกิจกรรมขั้นตอนการดำเนินงานและต้นทุนทีแตกต่างกัน ข้าวหอมมะลิจะมีต้นทุนค่าปรับปรุงข้าวให้ได้มาตรฐานและดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าข้าวขาวและข้าวนึ่ง ทำให้แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกมีความแตกต่างกัน แนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวในอนาคตคือการนำเข้าบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ และพัฒนารูปการขนส่งคอนเทนเนอร์จากการใช้รถหัวลากเป็นการขนส่งทางน้ำโดยใช้เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันรายการ รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชยพล ผู้พัฒน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบหลายช่วง นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ Q Mark, GDP, GSP, Q-Cold Chain, ISO18000, ISO22301, ISO28000 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อสังเคราะห์ตัวแปรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพ จากนั้นจึงใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยนำตัวแปรที่สังเคราะห์ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q Mark ในประเทศไทย จำนวน 414 ราย ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 324 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.26 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยเพื่อยืนยันตัวแปร สุดท้ายจึงนำผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพและจัดสนทนาเชิงกลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพมีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายกรมการขนส่งทางบกที่มีการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้ารายการ รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จิรวดี อินทกาญจน์งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาอุปทานของผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย 2) ศึกษาอุปสงค์ของนักท่องเที่ยวในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพนำเชิงปริมาณ ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นการศึกษาอุปทานฯ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์, ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแพทย์แผนไทย, ผู้ประกอบการด้านนวดไทย โรงแรมและบริษัททัวร์ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ จะเป็นการศึกษาอุปสงค์ฯ ด้วยแบบสอบถามโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย จำนวน 400 คน แล้วใช้สมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล สุดท้ายจึงนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาทำการสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยรายการ การพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่มีต่อโซ่คุณค่าทางสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ลภัสรดา เนียมนุชบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรด้านภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม ด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ และพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 209 ราย เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 5 ราย นำข้อมูลมาสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อตอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=50.759, x2/df =1.637, p=0.014, CFI=0.992, IFI=0.992, RMR=0.009 และ RMSEA=0.055 และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยมประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ ส่งผลทางอ้อม และสัมภาษณ์ผู้บริหารพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงขององค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมไปในทิศทางที่สามารถแข่งขันได้ มุ่งหวังให้เกิดคุณค่าร่วมขององค์กรและสังคมเพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนรายการ การพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) นริส อุไรพันธ์งานวิจัยนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธืพลของปัจจัยที่มีผลต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล และอิทธิพลของการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่มีผลต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 2) พัฒนาตัวแบบการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 4) เพื่อทำการประเมินตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล และ 5) เพื่อทำการพัฒนาระบบประเมินระดับวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่ส่งผลต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล แลอิทธิพลของการคืนสภาพได้ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่มีผลต่อการจัดการความต่เนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลแบบสุ่ม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสาหกิจขนาดและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวน 400 ราย จากทั้งหมด 3,077,822 รายในประเทศไทย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามเอสเอ็มอีละ 5 ฉบับ ผลการตอบแบบสอบถามกลับคิดเป็นรเช้อยละ 93.20 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืยยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและระบบการประเมินระดับวุฒิภาวะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมทั้งประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงปลอกภัยไซเบอร์ จำนวน 4 ท่าน ด้านตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถ จำนวน 4 ด้าน ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 5 ท่าน และก้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำนวน 4 ท่านรวามจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 17 ท่าน แล้วนำผลที่ได้มาทำการทดสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัด ระดับวุฒิภาวะความสามารถและเกณฑ์การประเมินตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล และทำการยืยยันความเหมาะสมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มเพื่อหาตัวแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการวัดระดับวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่เนื่องทางธุรกิจดิจิทัลรายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ของพันธมิตรและโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการจัดการสมรรถนะของโซ่อุปทานและระดับวุฒิภาวะการบริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิเครื่องปรับอากาศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุขสกล วลัญตะกุลการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ของพันธมิตรและโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการจัดการสมรรถนะโซ่อุปทานและระดับวุฒิภาวะการบริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ 2. ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ของพันธมิตรและโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการจัดการสมรรถนะโซ่อุปทานและระดับวุฒิภาวะการบริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ และ 3. สร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ของพันธมิตรและโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการจัดการสมรรถนะโซ่อุปทานและระดับวุฒิภาวะการบริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ผู้ประกอบการผลิตเครื่องปรับอากาศและคู่ค้า จำนวน 660 คน ตามเทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สันและค่าตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของพันธมิตร กลุ่มของอุปทานและคู่ค้า ความสัมพันธ์ของโซ่อุปทาน การวางแผนโซ่อุปทานและการจัดการสมรรถนะของโซ่อุปทานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อระดับวุฒิภาวะการบริการของลูกค้า ค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้ง 6 ดัชนี ซึ่งผ่านเกณฑ์และยอมรับสมมติฐานการวิจัยรายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสัญญาการบริการจากมุมมองของผู้ประกอบการรถบรรทุกในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อภิชาติ มาศมาลัยบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการออกแบบสัญญาการบริการต่อความไว้วางใจจากมุมมองผู้ประกอบการรถบรรทุก 2) พัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสัญญาการบริการศูนย์บริการรถบรรทุก 3) นำเสนอแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ในการออกแบบสัญญาการบริการให้กับศูนย์บริการรถบรรทุกในประเทศไทย แบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกสำคัญกับผู้ประกอบการรถบรรทุก 10 คน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความตรงของตัวแบบและขนาดอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยความสามารถในการออกแบบสัญญา ความเฉพาะเจาะจงของสัญญา ความซับซ้อนของสัญญาและความไว้วางใจ 2) ตัวแบบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความไว้วางใจได้ร้อยละ 89.4 โดยความเฉพาะเจาะจงของสัญญาการบริการและความซับซ้อนของสัญญาการบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความไว้วางใจ ในขณะที่ความสามารถในการออกแบบสัญญาการบริการสามารถมีอิทธิพลเชิงลบต่อความไว้วางใจและตัวแบบสัญญาการบริการมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 80.459, df = 1, Relative X2 = 1.662, p = .197, RMSEA = .041, RMR = .004, GFI = .999, AGFI = .942, NFI = 1.000, TLI = .992. 3) การสื่อสารด้วยภาษาที่ง่ายจะทำให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกเข้าใจสิทธิในสัญญาบริการเพิ่มขึ้นรายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุของช่องทางการกระจายยาและเวชภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของร้านค้าปลีก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วรางคณา จิตราภัณฑ์ร้านค้าปลีกในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการต่อลูกค้าได้ โรงงานและผู้ค้าส่งจำหน่ายสินค้าให้ผู้ค้าปลีกต้องตัดสินใจเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายโดยคำนึงถึงส่วนประสมการตลาด ซึ่งปัญหาและอุปสรรคด้านการกระจายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย และการตลาดมีความสำคัญต่อธุรกิจค้าปลีก วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อช่องทางการกระจายยาและเวชภัณฑ์และสมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์, 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของช่องทางการกระจายยาและเวชภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์, และ 3) สร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของช่องทางการกระจายยาและเวชภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ผลการวิเคราะห์มีดังนี้ 1)ระบบการกระจายมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อช่องทางการกระจาย / สมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์, 2)กลุ่มของคู่ค้ายาและเวชภัณฑ์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อช่องทางการกระจาย / สมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์, 3)กลยุทธ์การตลาดมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์, และ 4)ช่องทางการกระจายมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสมรรถนะของร้านค้าปลีกยาและเวชภัณฑ์ การศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในร้านค้าปลีกเพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการการกระจายสินค้ารายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลดำเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เอกนรี ทุมพลงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลดำเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และนำเสนอกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 แห่ง เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง และยืนยันข้อค้นพบดังกล่าว โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 ท่าน ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และ ผู้บริหารโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป เพื่อยืนยันข้อค้นพบ และสรุปแนวทางการปรับใช้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไคสแควร์ = 139.21 df = 72 P = .0573 GFI = .93 AGFI = .94 RMSEA = .0048 โดยแรงขับเคลื่อนภายใน และแรงขับเคลื่อนภายนอก มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลดําเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยส่งผ่านแนวปฏิบัติด้านการจัดการความยั่งยืนโดยผู้ประกอบการสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้มาใช้ในการวางแผนงานในการบริหารจัดการโซ่อุปทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำปัจจัยที่ทำการศึกษาไปวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้รายการ รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรยั่งยืน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปณิตา แจ้ดนาลาวการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าการเกษตรอย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรในการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนและการบริหารจัดการโซ่อุปทาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ประชากร คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย จำนวน 1,447,678 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 6,167 ราย ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ราย โดยใช้แบบสอบถาม และงานวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตร ระดับดี ระดับปานกลาง และระดับปรับปรุง จำนวน 12 คน ลูกค้าของกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มย่อยโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่กำกับดูแลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 10 คน และกลุ่มประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ค่าดัชนีสถิติทดสอบ /df = 2.948, P-value = 0.000 GFI = 0.931, CFI = 0.969, NFI = 0.955, IFI = 0.970, RMR = 0.019 และ RMSEA = 0.071 โดยการจัดการโซ่อุปทาน (SCOR Model) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความ สำเร็จของวิสาหกิจชุมชน (BSC) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.98 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจะประสบความสำเร็จและความยั่งยืนได้นั้น ในการจัดตั้งกลุ่มต้องมีความร่วมมือกันภายในผู้นำและสมาชิก ร่วมกันนำทุนทางวัฒนธรรมของในชุมชนและท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าของกลุ่มรายการ แบบจำลองสมการโครงสร้างของการบูรณาการการตลาดภายใน การบูรณาการโซ่อุปทานภายใน และคุณภาพบริการภายในของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ณัฎฐ์ บุญด้วงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของการตลาดภายในการ บูรณาการโซ่อุปทานภายใน คุณภาพบริการภายใน และความพึงพอใจของพนักงานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแบบจำลองสมการโครงสร้างของการบูรณาการการตลาดภายใน การบูรณาการโซ่อุปทานภายใน และคุณภาพบริการภายในของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการยกระดับความพึงพอใจของพนักงานในธุรกิจของร้านสะดวกซื้อ โดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างของการบูรณาการการตลาดภายใน การบูรณาการโซ่อุปทานภายใน และคุณภาพบริการภายในของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบวิธีผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ พนักงานบริการส่วนหน้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จำนวน 500 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามออนไลน์และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงาน ได้แก่ การตลาดภายใน คุณภาพบริการภายใน และการบูรณาการโซ่อุปทานภายใน ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการตลาดภายใน ได้แก่ การมอบอำนาจ องค์ประกอบสำคัญของคุณภาพบริการภายใน ได้แก่ ความเชื่อมั่นและการจับต้องได้ องค์ประกอบสำคัญของการบูรณาการโซ่อุปทานภายใน ได้แก่ การบูรณาการวัตถุดิบภายใน และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=70.014, df=53, Chi-Square/df=1.322, p=0.058, GFI=0.984, AGFI=0.953, CFI=0.995, RMR=0.009, RMSEA=0.025) การสร้างความพึงพอใจของพนักงานต้องเกิดจากการทำการตลาดภายใน คุณภาพบริการภายใน และการบูรณาการโซ่อุปทานภายใน ทั้งนี้องค์กรร้านสะดวกซื้อควรมีการวางแผนกลยุทธ์ที่เชื่อมโยง การตลาดภายใน คุณภาพบริการภายใน และการบูรณาการโซ่อุปทานภายในเพื่อยกระดับความพึงพอใจให้แก่พนักงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้พนักงานทำงานอยู่ร่วมกับองค์กรได้อย่างมีความสุข และทำงานอยู่ในระยะยาวรายการ การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ ในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) มานิตย์ สิงห์ทองชัยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนตัดสินใจในรูปแบบของเว็บ แอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป และ (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำนวัตกรรมระบบสนับสนุนตัดสินใจในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันไปสู่การประยุกต์ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มข้อมูลที่นำมาใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ บริษัทขนส่ง และ/หรือคลังสินค้า 2) กลุ่มข้อมูลใช้หาความต้องการให้บริการโลจิสติกส์ คือ แหล่งผลิตสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม 3) กลุ่มผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ คือ ผู้ประกอบการการผลิตในจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน และผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินระบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบลำดับชั้นและขั้นตอนวิธีเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทดสอบในโปรแกรม Weka 3.9.4 และแบบประเมินประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีการวัดประสิทธิภาพของโมเดลด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ j48 ที่ให้ค่าความถูกต้อง เท่ากับ 50.5 % และพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เท่ากับ 49.5% โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าจริงและค่าที่พยากรณ์ได้ มีค่าเท่ากับ 0.2729 เป็นผลให้ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานที่ตอบสนองตรงกับลักษณะหรือข้อมูลที่เหมาะสม มีความถูกต้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งานระบบ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับมาก และ (3) ผลการประเมินความต้องการของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม เท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก และผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการโลจิสติกส์และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีค่าเฉลี่ย 4.11 อยู่ในระดับมากรายการ การสร้างรูปแบบองค์กรแบบลีน ซิก ซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยาการผลิตแบบ ลีน เน้นความคล่องตัวเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เช่น ความต้องการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีกาพนักงาน สถานที่ใหม่ ใช้ทรัพยากรสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า คิดจากมุมมองลูกค้า เพิ่มคุณค่า ลดความสูญเปล่า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องแนวคิดพื้นฐานคือ การพยายามรักษาการไหลของสินค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ซิกซิ๊กม่า คือ ปรัชญาการบริหารองค์กรโดยมุ่งไปที่ลูกค้า ใช้ข้อเท็จจริงและข้อมูลในการบริหารองค์กร เป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบก้าวกระโดด ลักษณะ ซิกซิ๊กม่า เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่าง ๆ ลีน และ ซิกซิ๊กม่า มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น โดยเครื่องมือของ ลีน จะถูกมุ่งเน้นไปที่การกำจัดความสูญเปล่าในการทำงานหรือกระบวนการ เพื่อให้การไหลของงานและข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวก การบูรณาการทั้ง ลีน และ ซิกซิ๊กม่า เข้าด้วยกันโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการธุรกิจ หรือกระบวนการโซ่อุปทาน มีเป้าหมายสูงสุดของธุรกิจคือการมีกระบวนการธุรกิจที่มีขีดความสามารถในการตอบสนองทั้งปริมาณความต้องการ และความหลากหลายของความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การประยุกต์ใช้แนวคิด ลีน ซิกซิ๊กม่า ด้วยกระบวนการโซ่อุปทาน จะทำให้กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าสู่ลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยการลดความสูญเปล่า และพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการในมุมมองของลูกค้า วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับผู้ประกอบการการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับผู้ประกอบการการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเก็บรวบรวมข้อมูลการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประสิทธิภาพ และการบวนการผลิต ที่มีผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ ตอนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการด้านระบบการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิต จากผลการวิเคราะห์พบว่า 1) การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันแบบจับต้องได้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อปัจจัยด้านกระบวนการการผลิต 2) การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันแบบจับต้องไม่ได้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อปัจจัยด้านกระบวนการการผลิต 3) กระบวนการการผลิตมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า และ 4) ประสิทธิภาพมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่ารายการ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) คมสัน โสมณวัตรการวิจัยครั้งนี้เ็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดเก้บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายที่ส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ให้บริการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าอันตรายในประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสังเกต ได้ 49 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามระดับความสำคัญของการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายให้ความสำคัญปัจจัยด้านการจัดเก็บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้ง 3 ปัจจัยอยู่ระดับดี และเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยที่มีส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลสามารอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายได้ร้อยละ 29รายการ ปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) รวมพล จันทศาสตร์แนวคิดแบบลีน นับเป็นหลักการหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดแบบลีน (Lean) เป็นปรัชญาการผลิตที่มุ่งลดความสูญเปล่า (Waste) ระบบการผลิตแบบลีน เป็นเครื่องมือในการจัดการกระบวนการ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ โดยการพิจารณาคุณค่าในการดำเนินงานเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งสร้างคุณค่าในตัวสินค้าและบริการ และกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรและผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจในที่สุด ปัญหาของการศึกษา คือว่า ลีนที่ใช้ในการขนส่งและการคลังสินค้ายังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อปรับการทำงานเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด โดยเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การวิเคราะห์กระบวนการทั้งหมด และการเพิ่มคุณค่าบุคลากรเพื่อให้กระบวนการทำงานไม่เกิดการติดขัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการลดความสูญเปล่าที่ส่งผลต่อการเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า 3) เพื่อสร้างแบบจำลอง (Model) ของปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้ารายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ณัฐวุฒิ จันทโรจวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 180 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งสิ้น 1,192 ราย สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เชิงถดถอย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ในระยะยาว 2) การออกแบบเครือข่ายโซ่อุปทาน 3) การประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกัน 4) ความไว้วางใจและการแบ่งปันผลประโยชน์ 5) การสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล และ 6) การวางแผนและพยากรณ์อุปสงค์ร่วมกัน โดยเรียงลำดับตามอิทธิพลต่อตัวแปรตามมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์ และอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทาน ได้แก่ การตอบสนองต่อความต้องการ คุณภาพ ต้นทุน และผลตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยดังกล่าว ได้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพาราต่อไปรายการ แบบจำลองสมการโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นิศากร มะลิวัลย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมการสร้างคุณค่าร่วมกัน และชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 265 ตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้ประกอบการด้านการผลิตของประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบความตรงสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=369.070, χ2/df = 2.883, p= 000, CFI=0.960 , IFI=0.961 and RMSEA=0.084 และในส่วนของการทดสอบสมมติฐานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกัน 2) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 4) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 5) ชื่อเสียงขององค์กร ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 6) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 7) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 8) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และชื่อเสียงขององค์กร 9) การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 10) ชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กรรายการ ตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พงษ์เทพ ภูเดชงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย และนำเสนอกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมเชิงอธิบาย โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณก่อน ด้วยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และพนักงานระดับหัวหน้างาน ที่ทำงานด้านการจัดซื้อจัดหาในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง จากสถานประกอบการจำนวน 4,133 แห่ง (ฝ่ายวิจัยนโยบาย และบริการสารสนเทศอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, 2560) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และค่าการตรวจสอบความกลมกลืนของตัวแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการจัดสนทนากลุ่ม