Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5003
Title: ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมกินเจ จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: PHUKET VEGETERIAN CULTURAL CENTER
Authors: ทัศน์ไท สงวนนาม
Keywords: ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมกินเจ
จังหวัดภูเก็ต
Bergen Tourist Information Centre
Tourist Information London
Expo 2015 gate Italy
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวจังหวัดภูเก็ต
Issue Date: 2559
Publisher: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ทัศน์ไท สงวนนาม. 2559. "ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมกินเจ จังหวัดภูเก็ต." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: 55008098_ทัศน์ไท สงวนนาม
Abstract: โครงการนี้เกิดขึ้นได้จาก จุดเริ่มต้นในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามา จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น รวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์หาจุดสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งที่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสนใจมากที่สุดใน 1 ปีคือเทศกาลกินเจ เป็นการถือศีลกินผัก งดเนื้อสัตว์ทั้งหลาย ช่วงระยะเวลา 9 วัน ซึ่งแต่ละพิธีการมีความหมายของตัวเอง เมื่อหมดเทศกาล จึงไม่สามารถจะรับรู้หรือศึกษาวัฒนธรรมเหมือนในช่วงระยะเวลาที่มีเทศกาลจึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมกินเจ นอกจากจะเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ ความรู้สึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมกินเจแล้ว ยังเป็นสถานที่ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในเรื่องของความสะดวกในเรื่องต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสะดวกสบายขึ้น จึงเกิดโปรแกรมทั้งในเรื่องของศูนย์ศึกษาและจุดอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งเรื่องของ การให้เช่ารถ สามารถเข้ามารับรถผ่านโครงการได้ ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จองที่พัก บริการทริปท่องเที่ยว และอื่นๆ ส่วนศูนย์ศึกษาจะเป็นตัวจ่ายความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจ โดยตัวโครงการจะจัดตั้งอยู่ท่ามกลางย่านเมืองเก่าตึกอาคารมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวรวมทั้งศาลเจ้า การออกแบบตัวโครงการภายนอกจะนำลักษณะของตัวอาคารในย่านเมืองเก่ามาศึกษารูปแบบต่างๆตามประเภทของตัวองค์ประกอบอาคาร และตัวศาลเจ้าซึ่งมีความคล้ายคลึงในเรื่องของวัสดุ บางชนิดที่ใช้สร้างอาคาร ส่วนที่แตกต่างกันจะเป็นตัวการใช้งานซึ่งศาลเจ้าจะมีลักษณะการใช้งานแบบสาธารณะและเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมจึงมีพื้นที่ขนาดใหญ่ วัสดุและลักษณะช่องเปิดที่ใช้จะมีศิลปะแบบจีนให้เห็น อาคารตึกเก่าจะได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของรูปแบบสถาปัตยกรรมจึงนำในส่วนของการใช้งานของอาคารบางส่วนมาใช้กับโครงการ ผลการออกแบบที่ได้จะมีส่วนที่เป็นพื้นที่บริการสาธารณะเช่น ระเบียงชมขบวนแห่พระเนื้อหาโครงการนำวัสดุ และ สีเป็นตัวเด่นของโครงการของภายนอกส่วนภายในจะเป็นไปตามเนื้อเรื่องที่นำเสนอ
Description: วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5003
Appears in Collections:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TH_55008098_Thatthai_Sanguannam.pdf10.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.