กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5016
ชื่อเรื่อง: สถาบันการท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Eastern tourism academy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลภัทร์ จาดเจริญ
คำสำคัญ: ท่องเที่ยว
มัคคุเทศก์
ประเทศไทย
ภูมิภาคตะวันออก
ประมง
วัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์
ศิลปะ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พลภัทร์ จาดเจริญ. 2558. "สถาบันการท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออก." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 53042963_พลภัทร์ จาดเจริญ
บทคัดย่อ: การศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการ สถาบันการท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออก เป็นโครงการที่ ดาเนินการตามนโยบายของ กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีจุดประสงค์ที่จะ สร้างสถานที่ๆเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรวบรวมความรู้ รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพ ของบุคคลากร เพื่อเป้าหมายในการสร้าง การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วิธีการศึกษาเพื่อการออกแบบโครงการ ศึกษาจากข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยว และ ข้อมูลของมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความสาคัญต่อ การท่องเที่ยวของประเทศไทย โดย ศึกษาจาก ประเภทของมัคคุเทศก์ โครงสร้างหลักสูตรในการฝึกอบรม เพื่อที่จะหาข้อบกพร่อง แล้วจึงนาไปใช้เป็นเนื้อหาในการออกแบบส่วนต่างๆของโครงการ ผลการศึกษาออกแบบ โดยมีแนวความคิดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ โดยส่วนที่1เป็น แนวคิดในการออกแบบรูปทรงของอาคาร ส่วนที่2เป็นแนวคิดในการพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร และส่วนที่ 3 เป็นการออกแบบแนวความคิดในการวางตัวอาคารที่ตอบสนองต่อสภาพบริบท ส่วนที่ 1 เป็นแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ องค์ประกอบของหมู่บ้านชาวประมง ในแง่ ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เพื่อนามาใช้ในการออกแบบตัวอาคาร ที่แสดงถึง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และสามารถย้าเตือนถึงรากเหง้าของชาวบางแสน ส่วนที่ 2 เป็นแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลหลักสูตรการฝึกอบรม ของมัคคุเทศก์ เพื่อสร้างพื้นที่ๆส่งเสริมหลักสูตรการฝึกอบรม โดยการนาเนื้อหาในวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ ไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และประเพณีและวัฒนธรรมไทย มาใช้ในการจัดแสดง นิทรรศการ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษา และประชาชนที่สนใจ เข้ามาใช้ในโครงการ เพื่อเพมิ่ โอกาสให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เข้าชม ส่วนที่ 3 จากวิเคราะห์บริบทโดยรอบ ทาให้ได้แนวความคิดในการวางตัวอาคาร ที่ ศูนย์กลางของเส้นทางสัญจรใหม่ในบริบทโดยรอบหาดบางแสน โดยเส้นทางดังกล่าวสามารถดึง ผู้คน และนักท่องเที่ยว ให้เดินทางผ่านตัวอาคารไปยังหาดบางแสน หรือ เดินทางเข้ามาใช้ อาคารได้สะดวกด้วยการเดินผ่านเส้นทางใหม่ที่เกิดขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5016
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
53042963_Ponrapat_Jadjarern.pdf53.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น