Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5042
Title: บัยตุ้ลหิกมะห์ (เคหะสถานแห่งปัญญา)
Other Titles: BAITUL HIGMAH
Authors: ปริชนนท์ สาลี
Keywords: ศาสนาอิสลาม
อิจญ์ติฮาด
บัยตุ้ลหิกมะห์
ศิลปะสถาปัตยกรรมอิสลาม
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
THE NOBLE QUR’AN OASIS COMPETITION
SHENZHEN ART MUSEUM AND LIBRARY
MEMORIAL DU CAMP DE RIVESALTES
A CENTRO ISLAMICO
Issue Date: 2559
Publisher: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ปริชนนท์ สาลี. 2559. "บัยตุ้ลหิกมะห์ (เคหะสถานแห่งปัญญา)." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: 55018181_ปริชนนท์ สาลี
Abstract: การนำจุดประสงค์ของบัยตุ้ลหิกมะห์เดิมกลับมาใช้ในการออกแบบ บัยตุ้ลหิกมะห์หลังใหม่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยโปรแกรมหลัก 3 อย่าง คือ ส่วนที่ 1 คือ ส่วนการเรียนรู้ของโครงการ เช่น ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องบรรยาย นิทรรศการ ส่วนที่ 2 คือส่วนการบริหารโครงการ เช่น สา นักงาน และส่วนที่ 3 คือ ส่วนบริการโครงการ เช่น ร้านหนังสือร้านอาหาร ห้องละหมาด ห้องปฐมพยาบาล จากการศึกษาข้อมูล และทฤษฎีต่างๆแล้ว ทำให้สามารถออกแบบอาคารบัยตุ้ลหิกมะห์ได้อย่างมีเหตุ มีผลมากที่สุด ซึ่งได้นำเสนอประเด็นในการออกแบบโครงการที่เป็นสถาปัตยกรรมอิสลามรูปแบบใหม่ที่มีเหตุผลทางศาสนามากกว่าการเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแนวคิดอาคารนั้นได้ถูกให้เหตุผลโดยมีความหมายทางศาสนารองรับ ทั้งแนวคิดเรื่องสัดส่วนการออกแบบอาคารที่อ้างอิงจากสัดส่วนของกะอ์บะฮ์และแนวคิดสัดส่วนของที่ว่างที่อ้างอิงจากกะอ์บะฮ์เช่นกัน และแนวคิดเรื่องวัสดุอาคารที่ใช้อิฐ เป็นส่วนใหญ่ และแนวคิดช่องแสงที่ให้ความหมายในการนอบน้อม แนวคิดของฟังก์ชัน่ ในโครงการที่มาจากความหมายทางศาสนาในเรื่องของอิล์ม(ศรัทธาอย่างมีความรู้ เหตุผล) แนวคิดในเรื่องการจัดโซนให้เหมาะสมกับความหมายเรื่อง เนี๊ยต(สงบสมาธิ) และแนวคิดในการวางผังอาคาร ให้สัมพันธ์กับ ทิศทางกิบลัต(เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย) ซึ่งทุกๆแนวคิดนั้นมีเหตุผลทางศาสนารองรับหมดทุกประการ ส่วนวิธีการออกแบบนั้น ได้เน้นไปที่สัดส่วนของอาคาร ที่ถูกต้องตามสัดส่วนของกะอ์บะฮ์ก่อน ซึ่งจะทำให้ได้สัดส่วนของที่ว่างที่มีเหตุผล และการจัดผังอาคารให้มีความสัมพันธ์กับทิศทาง ของกิบลัต(เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย)จากนั้นก็จัดโซนอาคารโดยแยกฟังก์ชัน่ ออกจากกันตามความหมายในเรื่องเนี๊ยต(สงบสมาธิ) ส่วนในเรื่องของวัสดุนั้น วัสดุส่วนใหญ่จะใช้อิฐเพราะมีความหมายทาง ศาสนาในเรื่องของอิกติซอด(พอเพียงสมดุล) และส่วนในเรื่องของช่องแสงนั้นได้ถูกออกแบบโดย การนำเอาคำในอัลกุรอ่านมาใช้แทนช่องแสงตามความหมายในเรื่องเอี๊ยะติซอต(นอบน้อม) ซึ่ง ผลการออกแบบคือสถาปัตยกรรมอิสลามในรูปแบบที่มีเหตุผลทางศาสนารองรับ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5042
Appears in Collections:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TH_55018181_PRITCHANON_SALEE.pdf14.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.