Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5045
Title: พิพิธภัณฑ์ แสงสะท้อนการก่อกำเนิดล้านนา
Other Titles: Lanna Museum Of Light
Authors: ปรเมศวร์ ธนะเพิ่ม
Keywords: ล้านนา
องค์ความรู้ล้านนา
ชุมชนช่างล้านนา
การละเล่นพื้นบ้านล้านนา
Issue Date: 2559
Publisher: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ปรเมศวร์ ธนะเพิ่ม. 2559. "พิพิธภัณฑ์ แสงสะท้อนการก่อกำเนิดล้านนา." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: 55028527_ปรเมศวร์ ธนะเพิ่ม
Abstract: องค์ความรู้ล้านนาเกิดจากการที่คำว่า ล้านนามันได้เลือนหายไปกับกาลเวลาไปเรื่อย ๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่เริ่มเข้ามาแทนที่ล้านนาซึ่งเร็วจนไม่ สามารถที่จะหยุดได้สังเกตจากสังคมในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก จนลืมคำว่า ล้านนาไปซึ่งเป็นรากเหง้าของคนล้านนาซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันของสังคมบนพื้นฐานที่กำหนดขึ้นมาตาม ความเชื่อ ของแต่ล่ะสังคมเพื่อให้ เกิดการอยู่ร่วมกันโดยอาศัยศูนย์กลางของแต่ล่ะสังคมเป็นตัวกำหนดในการดำรงชีวิตและสิ่ง ปลูกสร้างต่าง ๆ ที่แสดงให้เป็นถึงคำว่า ล้านนา ซึ่งคำว่า ล้านนานั้นเป็นเป็นคำที่สั้น ๆ แต่ ความหมายของคำว่า ล้านนานั้นมีมากกว่านั้น ไม่ใช่แค่ผืนแผ่นดินที่มีนานับล้าน ๆ ไร่ หรือ ธรรมชาติที่อุดสมบูรณ์เท่านั้น ซึ่งล้านนานั้น แสดงให้เห็นถึงอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่ใน บริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยบ้านเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย เชียงแสน พระเยา น่าน ฯลฯ ซึ่งในอดีตเคยมีถึง 57 เมืองด้วยกัน นั้น แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านนา คาว่าล้านนาถูกก่อตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานของความ เชื่อ แล้วจึงเกิด วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะพื้นบ้าน ภาษา เกิดสิ่งปลูกสร้างทั้งสถาปัตยกรรม หรืองานศิลปะ และทำให้เกิดโครงสร้างเมืองและเกิดชุมชนขึ้นมาแล้วเกิดโครงสร้างที่แพร่ขยาย ในพื้นที่ราบและพื้นที่ด้านบนด้วย โดยสังคมในปัจจุบันมีการนำวัฒนธรรมใหม่เข้ามามากเกินไปจนลืมคำว่า ล้านนาแก่น ของล้านนาไปโดยการใช้องค์ความรู้ล้านนามาเป็นกระบวนการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา โดยเกิดจากระบวนการความคิดของล้านนาทั้งหมด ผลการศึกษาออกแบบโดยใช้องค์ความรู้ ล้านนา ได้นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจคือการสร้างสิ่งปลูกสร้างอาคารสูงซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด การบดบังพื้นที่และการนำสถาปัตยกรรมต่างถิ่นมาใช้ในการออกแบบโดยไม่คานึงถึงรูปแบบ ความเป็นล้านนา และการแสดงให้เห็นถึงความสามารถขององค์ความรู้ล้านนาที่จะสื่อและ สะท้อนความเป็นล้านนาออกมา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มาจากองค์ความรู้ล้านนา ทำให้ เป็นสถานที่ที่มีคุณค่า เป็นสถานที่รวบรวมความเป็นล้านนาไว้เพื่อให้ลูกหลานคนเมือง ล้านนาได้สืบสานเอกลักษณ์และหลายทอดให้คนรุ่นหลังหรือผ็คนต่างถิ่นต่างเมืองได้รับรู้ถึงวิถี ชีวิตของคนล้านนา
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5045
Appears in Collections:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TH_55028527_PORAMET_TANAPEAM.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.