กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5098
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE RELATIONSHIP BETWEEN QUALITY OF EARNINGS AND THE OPERATIONAL EFFICIENCY BASED ON FINANCIAL REPORTING STANDARD OF THE THAI LISTED COMPANY IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรณทิพย์ อย่างกลั่น
คำสำคัญ: คุณภาพกำไร
ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
วันที่เผยแพร่: 22-ธันวาคม-2015
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 10 (น.388-398). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพกำไรโดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน (Working capital accruals :WCA) และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ(Total net operation accruals : NOA) และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามวิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน จำนวน 231 บริษัท โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปีและงบการเงินตั้งแต่ปี 2553-2556 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติพรรณนาอธิบายถึงลักษณะของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้สถิติ F-test (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่แตกต่างกันและหากเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานแตกต่างกันและจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานพบว่าคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระดับที่ค่อนข้างสูงและไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5098
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น