Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5222
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและผลการปฏิบัติงานของแรงงานต่างด้าว ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เขตจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: FACTORS AFFECTING THEQUALITY OF WORKLIFE AND THE PERFORMANCE OF FOREIGN WORKERS IN THE CONSTRUCTION INDUSTRY, PATHUMTHANI PROVINVCE
Authors: ธนัชย์พล บวรวุฒิ
Keywords: คุณภาพชีวิตในการทำงาน
ผลการปฏิบัติงาน
Issue Date: 2560
Publisher: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ธนัชย์พล บวรวุฒิ. 2557. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและผลการปฏิบัติงานของแรงงานต่างด้าว ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เขตจังหวัดปทุมธานี." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_2557_ธนัชย์พล บวรวุฒิ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและผลการปฏิบัติงานของแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เขตจังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของของแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เขตจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แรงงานต่างด้าว จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.932 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบแบบที (t - test) และแบบเอฟ (F - test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน (2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีระดับผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นสถานภาพสมรสที่ไม่แตกต่างกันและ (3) ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงานด้านลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคม ด้านค่าตอบแทนเพียงพอและยุติธรรม และด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน (R = 0.601) และสามารถอธิบายความแปรผันของผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ร้อยละ 36.20 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ผลการปฏิบัติงาน ได้ดังนี้ = 1.671 + 0.324 (ด้านบูรณาการทางสังคม) + 0.160 (ด้านค่าตอบแทน) + 0.102 (กฎหมาย/ยุติธรรมฯ) Y ̂ This research was to study the relationship between job characteristic factor and organizational commitment of staff of the research institute of the one university. The survey research has objectives of this study were to study the relationship between job characteristic factor and organizational commitment and the guideline to apply for the others university and others organizations. The sample group are 382 staff of the institute of the one university. The research methods in quantitative research and data collected by using the questionnaires. This research employed computer program to analyze the statistical data as follows: frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient and statistical hypothesis testing using at the significant level 0.05 The hypothesis testing about the relationship between job characteristic factor and organizational commitment of staff of the research institute of the one university by Pearson s correlation coefficient and statistical hypothesis testing using at the significant level 0.05. The result was found that the relationships between job characteristics factor as follows: skill variety, task Identity, autonomy and feedback was positively correlated with the organizational commitment in the same direction and consistent by the specification hypothesis.
Description: การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5222
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools