ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน ในบริษัทยาและเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง
กำลังโหลด...
วันที่
2560
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานใน บริษัทยาและเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานใน บริษัทยาและเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่า เท่ากับ 0.949 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัทยาและเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งจำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ t - Test, f - Test (ANOVA) และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่งงานปัจจุบัน รายได้ในปัจจุบัน ระดับการศึกษา และ ระยะเวลาในการทำงาน ไม่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน และพนักงานมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีระดับความจงรักภักดีต่อองค์การในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านเงินเดือน และด้านความรับผิดชอบ มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน ส่วนปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชางาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านสถานภาพของวิชาชีพ ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานThe purpose of this research is to study. 1. Personal factors that influencing the employees’ loyalty in one of pharmaceutical and medical device companies. 2. Motivating factor in performance that affect the loyalty of employees in one of pharmaceutical and medical device companies. The questionnaire was used to collect data. The results of the questionnaire to test for Confidence (Reliability Coefficient) is equal to 0.949.
In this study. Used the population employee one of pharmaceutical and medical device companies. population 180 people. Analyzed data by using computer software which contain: percentage, mean, standard deviation, t - test and f - test or One - Way ANOVA for hypothesis testing and Multiple Linear Regression for Statistical relationships between variables in a multiple regression analysis.
The hypothesis testing found personal factors, such as gender, age, job title, current income, education level and duration of working time had no affected on employees’ loyalty. And employee had the motivation to work in the overview found at a high level. And employee had the loyalty to the organization in the overview found at a high level. The motivation factor in the private lives, the relationships between people, the salaries And responsibility had affected on employees’ loyalty. The motivation factor in achievement, recognition, growth opportunity, the rule works, policy and Management, the operational condition, the status of the profession, the stability in the operation had no different affected on employee loyalty
คำอธิบาย
การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
EMPLOYEES’ LOYALTY, ความจงรักภักดีของพนักงาน, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ทฤษฎีแรงจูงใจ, Motivation Theories, Theories of Motivation, ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของผลกรรมต่อพฤติกรรมของบุคคล
การอ้างอิง
ยูริโกะ สินทวี. 2557. "ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน ในบริษัทยาและเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.