ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการป่าไม้ตามกฎหมายป่าไม้ ศึกษากรณี สภาพพื้นที่ป่าไม้ แผนงานป่าไม้ และการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินที่เป็นไม้หวงห้ามในที่ดินของเอกชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2559

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resources) ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในอัตราที่รวดเร็วจนอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ การลดลงของพื้นที่ป่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ในต้นไม้ออกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น สาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เกิดจากปัจจัยหลายประการ ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ขาดเอกภาพและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยนโยบายแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินป่าไม้ยังขาดความยั่งยืนและชัดเจนในทางปฏิบัติ ขาดหลักเกณฑ์ในการฟื้นฟู การปลูกป่า และการดูแลรักษาควบคู่ไปกับการป้องกันละปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ โดยพิจารณาได้จากนโยบายของรัฐหลายยุคสมัยซึ่งให้ความสำคัญกับทรัพยากรป่าไม้ โดยพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งมีความพยายามขับเคลื่อนนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าไม้ 102.3 ล้านไร่ให้คงอยู่ และเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ โดยส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจระยะยาวเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษากฎหมายป่าไม้ พบว่าได้มีการกำหนดนิยามคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4 (1) โดยบัญญัติคำว่า “ป่า หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ จึงหมายถึง ที่ดินที่ยังมิได้กรรมสิทธิ์หรือได้สิทธิครอบครอง ซึ่งสภาพที่ดินอาจเป็นที่รกร้างว่างเปล่า (Waste Land) ที่ชายตลิ่ง (Foreshore) หรือที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน (Public Domain Of State) ไม่มีสภาพเป็นป่าตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีความจำเป็นต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่บางแห่ง ซึ่งไม่มีสภาพเป็นป่าตามความเป็นจริง แต่ถือว่าเป็น “ป่า” ตามบทนิยามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ที่ดินดังกล่าว ได้แก่ ที่ดินสนามหลวง แม่น้ำเจ้าพระยา หรือคูคลองต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตเมือง ซึ่งหากมีการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำให้เสียหายหรือเสื่อมสภาพต่อที่ดินดังกล่าวซึ่งถือเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยจะต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และเป็นปัญหาในการใช้บังคับกฎหมายและสร้างภาระเกินความสมควรให้แก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่มีความจำเป็นต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น จะเห็นได้ว่านิยามคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 นั้น ทำให้ไม่สามารถกำหนดลักษณะและสภาพแวดล้อม

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การบริหารจัดการป่าไม้, สภาพพื้นที่ป่าไม้, แผนงานป่าไม้, ภารกิจงานป่าไม้, การจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน, ไม้หวงห้ามประเภท ก., FOREST MANAGEMENT, FOREST PLANNING, CONDITION OF FOREST FIELD, FORBIDDEN WOOD TYPE A., MISSION ON FOREST, LIMITATION OF ASSET ACQUIREMENT

การอ้างอิง

ษชาดา ศรประสม. 2559. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการป่าไม้ตามกฎหมายป่าไม้ ศึกษากรณี สภาพพื้นที่ป่าไม้ แผนงานป่าไม้ และการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินที่เป็นไม้หวงห้ามในที่ดินของเอกชน.