Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5385
Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ศึกษากรณี : การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์
Other Titles: LEGAL MEASURES WITH REGARD TO INTELLECTUAL PROPERTIES PROTECTION: CASE STUDY OF COPYRIGHTED PROTECCTION ON CINEMATOGRAPHIC WORKS
Authors: ประสาร โสมเสมสุวรรณ
Keywords: มาตรการตามกฎหมาย
ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ประสาร โสมเสมสุวรรณ. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ศึกษากรณี : การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
Series/Report no.: SPU_ประสาร _2560
Abstract: ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้านที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทที่เป็นภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในรูปของภาพยนตร์ทั้งที่เป็นปัญหากฎหมายและปัญหาทางปฏิบัติแล้วยังทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทนี้กระทำกันได้อย่างง่ายดายกว้างขวางและรวดเร็วครั้งละมากๆ จึงสร้างรายได้ให้แก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็น ภาพยนตร์ ทำให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทนี้ในแทบทุกประเทศโลกที่สามซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย อันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ทำให้ขาดทุนถึงขนาดที่อาจจะทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ อันส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศของผู้สร้างภาพยนตร์เป็นอันมาก เพราะการส่ง ออกภาพยนตร์น่าจะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศผู้ส่งออกได้เป็นอย่างมาก หากไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อย่างในปัจจุบัน วิสาหกิจ ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ จึงกดดันให้สหรัฐฯ บีบบังคับประเทศที่ละเมิดลิขสิทธิ์สหรัฐฯให้ป้องกันและปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด ประเทศไทยจึงใช้มาตรการป้องกันและปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์รุนแรงมากจนเกิดปัญหาทั้งที่เป็นปัญหากฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติ นอกจากนั้นปัญหากฎหมายว่าใครมีลิขสิทธิ์ในส่วนใดของภาพยนตร์แต่ละเรื่องและการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จะต้องจ่ายให้แก่ใครและใครเป็นผู้มีสิทธิที่จะมาเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ กับปัญหาการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการฉายภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมยังคงเป็นปัญหากฎหมายที่ยังหาคำตอบมิได้ เพราะมีลิขสิทธิ์อื่นซับซ้อนกันอยู่ ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้สิทธิของเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ต่างๆ เป็นจำนวนมากและทำให้มีการฟ้องร้องกันไม่รู้จบ จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญา กรุงเบิร์น ค.ศ.1976 และกฎหมายของสหรัฐอเมริกา พบว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยยังมีช่องโหว่อยู่และยังมิอาจให้ความคุ้มครองแก่ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ได้อย่างเต็มที่ ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ว่าเนื่องจากงานภาพยนตร์มีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเช่นผู้เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับการแสดง นักแสดงและวงดนตรี ในการสร้างภาพยนตร์นี้หลายคน จึงต้องถือว่าผู้สร้างภาพยนตร์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพราะผู้สร้างภาพยนตร์เป็นผู้เสียค่าตอบแทนให้ทุกๆฝ่ายที่เข้าร่วมงานการสร้างภาพยนตร์ และเป็นผู้ที่มีอำนาจที่จะใช้ หรืออนุญาตให้ผู้ใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์นั้นตลอดจนสามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์นั้นได้ด้วย
Description: ประสาร โสมเสมสุวรรณ. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ศึกษากรณี : การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5385
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ-ประสาร-นิติ-2560.pdf255.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.