มาตรการทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยกับต่างประเทศ ศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีในการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในคดีอาญา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2559 ผลการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131/1 มิได้อนุญาตให้บุคคลอื่นนอกจากพนักงานสอบสวนร้องขอให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคลวัตถุ หรือเอกสารใดๆ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียม และการไม่ได้แยกประเภทพยานหลักฐานที่ส่งตรวจพิสูจน์ว่าสามารถนำตัวอย่างจากส่วนใด ของบุคคลไปตรวจได้โดยต้องขอความยินยอมหรือไม่ต้องขอความยินยอมจากบุคคลนั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา นอกจากนั้น ตามพระราชบัญญัติการให้บริการ ด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2559 มิได้กำหนดขอบเขตหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด

คำอธิบาย

จิราภรณ์ พูลพิพัฒน์. มาตรการทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.

คำหลัก

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ระบบการดำเนินคดีอาญา, การดำเนินคดีอาญา, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการคุ้มครองสิทธิ, พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

การอ้างอิง

จิราภรณ์ พูลพิพัฒน์. 2561. "มาตรการทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.