Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5726
Title: คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร กรณีศึกษา บริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
Other Titles: QUALITY OF WORK LIFE AFFECTING ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR OF EMPLOYEES A CASE STUDY OF SOMAPA INFORMATION TECHNOLOGY PUBLIC CO. LTD.
Authors: วิลาวัลย์ ภโววาท
Keywords: คุณภาพชีวิตในการทำงาน
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วิลาวัลย์ ภโววาท. 2560. "คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร กรณีศึกษา บริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)." บทความ การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_วิลาวัลย์ ภโววาท_182336
Abstract: การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร กรณีศึกษาบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.900 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและพนักงานบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคม ด้านสิทธิของพนักงาน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5726
Appears in Collections:GRA-08. ผลงานนักศึกษา



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools