Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5729
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในเสียงขับร้อง และเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงในยุคดิจิทัล
Other Titles: LEGAL ISSUES OF MUSIC VOCAL AND MODIFIED VOCAL COPYRIGHT PROTECTION IN THE DIGITAL ERA
Authors: พัชยา พรหมเพชร
Keywords: ลิขสิทธิ์
เสียงขับร้อง
เสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: พัชยา พรหมเพชร. 2561. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในเสียงขับร้อง และเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงในยุคดิจิทัล." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_พัชยา พรหมเพชร_182369
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในเสียงขับร้อง โดยแบ่งเสียงขับร้องที่ทำการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เสียงขับร้องทั่วไป และเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล เนื่องจากเสียงขับร้องทั้งสองประเภทดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมดนตรี เพลงที่ได้รับความนิยมมักเป็นเพลงที่ใช้เสียงขับร้องที่ไพเราะหรือมีลักษณะที่โดดเด่นในการถ่ายทอด อย่างไรก็ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันให้ความคุ้มครองเพียงสิทธิของนักแสดง ซึ่งให้ความคุ้มครองเพียงตัวนักแสดงซึ่งเป็นผู้ขับร้องเท่านั้น แต่ในส่วนที่เป็นเสียงขับร้องยังไม่ได้มีการให้ความคุ้มครองใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นในกรณีเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล เป็นเสียงขับร้องที่เกิดจากการใช้เครื่องมือที่เกิดจากพัฒนาการของเทคโนโลยี ดัดแปลงเสียงขับร้องของมนุษย์ให้เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางต่างๆ ซึ่งในการดัดแปลงดังกล่าว ผู้ดัดแปลงอาจต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ความสามารถทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะ ทั้งยังอาจต้องลงทุนลงแรงเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี ด้วยเหตุนี้เสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัลดังกล่าว จึงน่าจะได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาระบบการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งจากกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย โดยศึกษาจากตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการ และคดีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้มีการสัมภาษณ์ผู้ใช้เสียงขับร้องในการประกอบอาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการดัดแปลงเสียงขับร้อง ผลการศึกษาพบว่าเสียงขับร้องที่เป็นเสียงขับร้องตามปกติของมนุษย์นั้น ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ผู้ใช้เสียงขับร้องยังคงสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากเสียงขับร้องได้ โดยอาศัยการแสวงหาผลประโยชน์ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น และสำหรับกรณีเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล อาจสามารถได้รับความคุ้มครองในฐานเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้ หากเข้าตามเงื่อนไขการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5729
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.