Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5798
Title: ปัญหาการดำเนินธุรกิจผูกขาดของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปกิจการแล้ว: กรณีศึกษาปัญหาการประกอบธุรกิจของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
Other Titles: MONOPOLY PROBLEMS OF THE PRIVATISED STATE ENTERPRISES: A CASE STUDY OF PTT PUBLIC COMPANY LIMITED
Authors: สันติภาพ ไตรพรม
Keywords: รัฐวิสาหกิจ
การให้บริการสาธารณะ
การผูกขาด
การแข่งขันทางการตลาด
การผูกขาดตลาดของรัฐวิสาหกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: สันติภาพ ไตรพรม. 2561. "ปัญหาการดำเนินธุรกิจผูกขาดของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปกิจการแล้ว: กรณีศึกษาปัญหาการประกอบธุรกิจของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_สันติภาพ ไตรพรม_T182441
Abstract: โดยที่รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปกิจการแล้วในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ มีอำนาจในการต่อรองทางการตลาดสูง หากนำมาพิจารณาประกอบเปรียบเทียบกับเจตนารมณ์ของกฎหมายแข่งขันทางการค้าจะเห็นได้ว่ากฎหมายต้องการให้ธุรกิจดำเนินไปในลักษณะไม่เป็นการผูกขาดจนเกินไป โดยให้ทุก ๆ ฝ่ายต่างมีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินธุรกิจผูกขาดของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปกิจการแล้ว เช่น ในกรณีของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้น แม้จะแปรรูปเป็นบริษัทเอกชนไปแล้ว แต่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เนื่องจาก กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ ถึงอัตราร้อยละ 51.11 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 4 มิได้บัญญัติครอบคลุมถึงรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว เป็นเหตุให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อ้างว่าตนสามารถดำเนินกิจการได้ โดยมิต้องถูกควบคุม การดำเนินกิจการใด ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ผู้เขียนจึงเห็นว่ากฎหมายการแข่งขันทางการค้าฉบับนี้ ยังคงมีข้อบกพร่องหลายประการ ดังนั้น จึงเกิดปัญหาในทางปฏิบัติและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ยังไม่มีข้อยุติว่าในกรณีเช่นนี้จะนำ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาใช้บังคับกับกรณีของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้หรือไม่ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ แนวทางในการกำหนดเกณฑ์การผูกขาดและเกณฑ์การใช้อำนาจเหนือตลาด กล่าวคือ (1) ควรแก้ไขข้อความในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขให้มีความชัดเจน และบัญญัติให้ครอบคลุมถึงรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว และ (2) ควรบัญญัติการแยกสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้วให้ชัดเจนว่า ส่วนใดเป็นของเอกชน ส่วนใดเป็นของรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าจะเป็นการแปรรูปกิจการพร้อมกับการแปรรูปสินทรัพย์ที่มีมาก่อนแปรรูปด้วยหรือไม่
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5798
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.