ศิลปะลายไทย กับ ระบบประสานทางพิกัด : โครงการ ท่าอากาศยานชุมพร
กำลังโหลด...
วันที่
2560
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
ลายไทย กับ ระบบประสานทางพิกัด ระบบประสานทางพิกัด ประเภทที่ผมสนใจจะศึกษาคือระบบประสานทางพิกัดที่เป็นชิ้นส่วนซ้าๆ กัน (Module) และขนาดเป็นส่วนหนึ่งของกัน และกัน ระบบประสานทางพิกัด ช่วยให้การทำงานและการก่อสร้างเป็นระบบ และ รวดเร็วมากขึ้น เพราะมีการใช้งาน ในเรื่องของขนาดที่ประสานกันเป็นส่วนหนึ่งของกัน และกัน หรือจะเป็นการก่อสร้างในรูปแบบซ้าๆ กันเพื่อลดขั้นตอนในการทำงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ศิลปะลายไทย เป็นภูมิปัญญาของคนไทยเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยส่วนใหญ่ในงานสถาปัตยกรรม ศิลปะลายไทยมักพบได้ในอาคารทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากศิลปะลายไทยเมื่อมองดูให้ละเอียดลงไปแล้วจะพบว่าในลายไทยนั้น มีระบบประสานทางพิกัดเกิดขึ้นจึงทำให้ผมอยากรู้และอยากศึกษาต่อหากเอาลายไทยมาประยุกต์ใช้กับอาคารสมัยใหม่ เพื่ออนุรักษ์งานศิลปะของคนไทยได้เข้ามาอยู่ในงานสถาปัตยกรรมที่ผมสร้างขึ้น
ในกระบวนการออกแบบ เป็นการลดทอนลายไทยให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สามารถเป็นระบบประสานทางพิกัดได้ ให้คงเหลือแต่ เอกลักษณ์ของลายไทย กระบวนการของลายไทยระบบของลายไทย ที่นำมาประกอบกันและ สร้างลายขึ้นใหม่ด้วยทฤษฏีการลดทอนเพื่อให้เกิดงานใหม่ๆขึ้น แต่คงเหลือระบบของลายเอาไว้ เช่น งานในยุค Cubism และ De stiji ที่เป็นการลดทอนองค์ประต่างๆภายในรูปภาพ ให้เหลือแต่ความจริงของงานนั้น เป็นงานประเภทนามธรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวผู้สร้างงานเอง
คำอธิบาย
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
ระบบประสานทางพิกัดในงานสถาปัตยกรรม, ศิลปะลายไทย, แนวคิดการลดทอนในยุค Cubism ปาโบล ปีกัสโซ, แนวคิดการลดทอนในยุค De Stiji ปีต โมนดรียัน
การอ้างอิง
ทิชากร ดาวเรือง. 2560. "ศิลปะลายไทย กับ ระบบประสานทางพิกัด : โครงการ ท่าอากาศยานชุมพร." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.