Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5869
Title: ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิด ทางละเมิด และผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำละเมิด
Other Titles: PROBLEMS ON WHO IS AUTHORIZED TO APPOINT A FACT FINDING COMMITTEE ON WRONGFUL ACT LIABILITIES AND TO MAKE AN ORDER TO PAY COMPENSATION IN CASE THE CHIEF OF A STATE AGENCY COMMITTED A WRONGFUL ACT
Authors: เมธา นวลิมป์
Keywords: ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำละเมิด
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: เมธา นวลิมป์. 2561. "ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิด ทางละเมิด และผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำละเมิด." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_เมธา นวลิมป์_T182473
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำละเมิด โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและของต่างประเทศ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า หลักเกณฑ์ที่กำหนดบุคคลผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำละเมิดยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (Office of the Council of State) ให้ความเห็นว่า ให้ปลัดกระทรวง หรือทบวง หรือรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้ทำละเมิดเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด โดยนำบทบัญญัติข้อ 12 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาปรับใช้โดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ทำละเมิดนั้น พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่เดิมก็ไม่ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ในขณะทำการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 โดยแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 ข้อ 12/1 และข้อ 18 ขึ้นใหม่ แต่การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับทฤษฎีลำดับศักดิ์ทางกฎหมาย กล่าวคือ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลูก ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรอง (Subordinated Legislation) ซึ่งอาจเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่เกินกว่าขอบเขตของ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท และอาจขัดกับหลักความเป็นอิสระของราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ดังนี้ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 จากเดิมเป็น มาตรา 12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการแทนหน่วยงานของรัฐ และให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้กำกับดูแลหรือควบคุมการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการแทนหน่วยงานของรัฐได้ หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการ หรือดำเนินการดังกล่าวล่าช้าพ.ศ. 2539 มาปรับใช้โดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ทำละเมิดนั้น พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่เดิมก็ไม่ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5869
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.