กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5878
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมทางความร้อนของผนังเบาเปลือกอาคาร แบบโลหะแผ่นร่วมกับวัสดุเปลี่ยนสถานะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thermal Behavior of Lightweight Metal-Sheet Building-Envelope Incorporated with Phase Change Material (PCM)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล
ชวลิต มณีศรี
ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์
คำสำคัญ: สารเปลี่ยนสถานะ ผนังเปลือกอาคาร การอนุรักษ์พลังงาน ภาระการทำความเย็น
PCM Building-Envelope Energy Conservation Cooling
วันที่เผยแพร่: 25-ธันวาคม-2018
สำนักพิมพ์: วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แหล่งอ้างอิง: ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล, ชวลิต มณีศรี,และ ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์. 2561. พฤติกรรมทางความร้อนของผนังเบาเปลือกอาคารแบบโลหะแผ่นร่วมกับวัสดุเปลี่ยนสถานะ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 10, มกราคม - ธันวาคม 2561, 186-197
บทคัดย่อ: Heat Transfer behaviour through light building envelope wall can be managed using Phase Change Material (PCM) to enhance latent thermal mass with minimal burden on wall structure. By absorbing heat during the day and releasing it at night, PCM incorporated wall can reduce diurnal maximum inner wall surface temperature and decrease cooling load for air conditioning system. The research numerically investigated thermal behaviour daily cycle of a lightweight metal-sheet building envelope with fiberglass insulator incorporated with varied amount of PCM layer under Bangkok weather condition. Implicit Finite Difference Method using Crank-Nicolson scheme was applied for numerical calculation. The result indicates that the amount of PCM used influents the effectiveness of wall temperature reduction and how latent heat storage is activated per weight of implemented PCM.
รายละเอียด: การจัดการการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังเบาเปลือกอาคารแบบโครงสร้างแผ่นโลหะ สามารถทำได้โดยการใช้สารเปลี่ยนสถานะ (PCM) เพื่อเพิ่มมวลความร้อนแฝงโดยไม่มีผลกระทบต่อมวลของโครงสร้างผนัง ในการดูดซับความร้อนจากภายนอกอาคารในช่วงเวลากลางวัน และปลดปล่อยออกในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ช่วยลดอุณหภูมิสูงสุดที่เกิดขึ้นบนผิวผนังและลดภาระการทำความเย็นสูงสุดของการปรับอากาศภายในอาคาร การศึกษาได้ดำเนินการโดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขแบบ Crank-Nicolson Finite Difference Iimplicit Method เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของโครงสร้างของผนังเบาแบบแผ่นโลหะ ที่มีฉนวนใยแก้วและชั้นของสารเปลี่ยนสถานะที่ปริมาณต่างๆ ภายในใต้การเปลี่ยนแปลงรายวันของสภาวะภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร ที่แสดงให้เห็นถึงปัจจัยของปริมาณการใช้ PCM ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการลดอุณหภูมิผิวผนังเปลือกอาคาร และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของปริมาณความร้อนแฝงต่อน้ำหนัก PCM ที่ใช้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5878
ISSN: 2228 - 8724
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น