Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5887
Title: การแปลในยุคใหม่กับการปรับตัวของผู้เรียน ผู้สอน และนักแปล
Other Titles: TRANSLATION IN THE NEW ERA AND AN ADJUSTMENT OF LEARNERS, INSTRUCTORS, AND TRANSLATORS
Authors: บุญเลิศ วงศ์พรม
ถาวร ทิศทองคำ
Keywords: การแปล
การแปลในยุคใหม่
การปรับตัวของผู้เรียนผู้สอนและนักแปล
การสอนโดยใช้กูเกิ้ลทรานสเลท
Issue Date: 20-December-2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: บุญเลิศ วงศ์พรม และถาวร ทิศทองคำ. (2561). การแปลในยุคใหม่กับการปรับตัวของผู้เรียน ผู้สอน และนักแปล. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13.
Abstract: เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่เว้นแม้แต่วงการแปลที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์มากขึ้น เช่น การนำเอาอุปกรณ์ ซอฟแวร์ต่างๆ อย่างกูเกิ้ล ทรานสเลท (Google Translate) มาใช้ในการแปลภาษา แม้ว่าศักยภาพเบื้องต้นของการแปลโดยการใช้กูเกิ้ล ทรานสเลทจะสามารถแปลได้ในระดับคำ วลี และข้อความเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 100 ภาษา แต่ผลที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปลประโยคความซ้อน อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมโดยอ่านแบบสรุปความ ถือว่าผลการแปลอยู่ในระดับพอใช้ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อไป ในอนาคตกูเกิ้ล ทรานสเลทจะเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักแปล การใช้กูเกิ้ล ทรานสเลทเป็นเครื่องมือในการสอนแปล พบว่า ผู้เรียนใช้แปลในระดับประโยค และค่อยขัดเกลาสำนวนภาษาให้เข้ากับเนื้อหา จากนั้น ผู้สอนค่อยชี้ให้เห็นถึงการแปลที่ถูก-ผิด แปลได้ แปลดี และการแก้ไขให้ถูกต้องตามภาษาต้นฉบับ ซึ่งนับว่ากูเกิ้ล ทรานสเลท เป็นเครื่องมือในการสอนแปลที่มีประสิทธิภาพมาก บทความนี้ นำเสนอเกี่ยวกับการแปลในยุคใหม่ที่ผู้เรียน ผู้สอนและนักแปลต้องปรับตัวโดยเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง ความหมายและรูปแบบของการแปล พัฒนาการของการนำเอาซอฟแวร์เพื่อช่วยในการสอนแปล แนวทางการปรับรูปแบบการแปลให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป กูเกิ้ล ทรานสเลทและผลสัมฤทธิ์ของการประยุกต์ใช้ในการสอนแปล บทสรุป และข้อเสนอแนะ
Description: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5887
Appears in Collections:LIA-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.