กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5899
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชวลิต มณีศรี
กิติกุล ปุณศรี
วรพล พินสำราญ
คำสำคัญ: เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน
แผนภูมิก้างปลา
จุดคอขวด
สมดุลสายการผลิต
การเพิ่มผลผลิต
วันที่เผยแพร่: 20-ธันวาคม-2018
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: Proceeding
หมายเลขชุด/รายงาน: -
บทคัดย่อ: อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน หรือเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ออกแบบเหมาะสมให้มีขนาดพอดีกับพื้นที่ที่ติดตั้ง เป็นงานผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า บริษัทกรณีศึกษาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในโครงการห้องชุดที่พักอาศัย ซึ่งมีปริมาณห้องชุดจำนวนมากและมีความต้องการที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าจะถูกผลิตบนชิ้นส่วนพื้นฐานเดียวกันก็ตาม ปัญหาพบคือ อัตราผลผลิตที่ยังไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนและเวลาในการส่งมอบด้วย จากการวิเคราะห์เวลาการทำงานพบว่า มีจุดคอขวดของสายการผลิตที่กระบวนการเจาะ เมื่อหาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลาพบว่า เกิดจากการใช้เวลาตั้งเครื่องจักรนาน และการมอบหมายงานที่ไม่เหมาะสม การจัดสมดุลสายการผลิตและการกำจัดความสูญเปล่าจึงถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ภายหลังการปรับปรุงอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะคอมเพิ่มขึ้นเป็น 310 แผ่น จากเดิม 144 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 115 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 100 และสูงกว่าค่าเป้าหมาย 300 แผ่นต่อวัน ขณะเดียวกันอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 755 แผ่น จากเดิม 655 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 94 และใกล้เคียงค่าเป้าหมาย 800 แผ่นต่อวัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5899
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
00 SPUCon2018_Chawalit.pdf1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น