Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5946
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการชดเชยความเสียหายในกรณีผู้บริโภคขอคืน สินค้าที่ไม่ปลอดภัย
Other Titles: Legal Measures on Compensation for Injuries occurring from substandard and unsafe product that consumer wishes to return to the Manufacture
Authors: เฉลิมขวัญ บริรัตน์
Keywords: การชดเชยความเสียหาย
การขอคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการชดเชยความเสียหายในกรณีผู้บริโภคขอ คืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยอันเนื่องจากการผลิตสินค้าด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนจึงเป็นการยากที่มาตรการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีมาตรการในการควบคุมและมาตรการเยียวยาความเสียหายให้แก่ ผู้บริโภคได้ที่ผู้บริโภคจะตรวจสอบได้ว่าสินค้านั้นปลอดภัยเมื่อสินค้านั้นก่อให้เกิดความเสียหายจากการใช้ สินค้าที่ไม่ปลอดภัยขึ้นและเป็ นการยากในการหาผู้ที่จะมารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จาก การศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้การรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้ องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้แต่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 ได้กำหนดอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคไว้ใน (7) โดยกำหนดให้สามารถดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะกรรมการ เห็นสมควรหรือมีผู้ร้องขอตามมาตรา 39 ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแทนในลักษณะที่คณะกรรมการเห็นว่าการ ดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมแต่ถ้าปรากฏว่าเป็นการฟ้ องในลักษณะการชดเชย ความเสียหายในกรณีผู้บริโภคขอคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยมิใช่อำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ จะสามารถฟ้องคดีแทนผู้เสียหายที่ขอคืนสินค้าเนื่องจากเป็นลักษณะความเสียหายเฉพาะบุคคลมิใช่ความ เสียหายที่เป็นความเสียหายส่วนรวม ดังนั้นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการในบทบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ สอดคล้องกับการชดเชยความเสียหายในกรณีผู้บริโภคขอคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยโดยควรให้คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคมีการช่วยเหลือผู้บริโภคทั้งมาตรการเชิงป้ องกันและเชิงเยียวยาโดยสามารถเข้าช่วยเหลือ ผู้บริโภคโดยเข้ามาตรวจสอบสินค้าบริโภคต่าง ๆ หรือเข้ามาควบคุมการผลิตสินค้าโดยแทนที่จะมีอำนาจ เพียงการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยเท่านั้นและควร ให้มีการเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยสามารถฟ้ องคดีแทนผู้เสียหายในกรณีนี้ได้แทนที่ จะมีอำนาจในการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการฟ้ องคดีในลักษณะที่เป็นความเสียหายส่วนรวมเท่านั้นเพื่อให้ ผู้บริโภคได้รับการช่วยเหลือ เยียวยาได้อย่างทันถ่วงทีและเพื่อผู้บริโภคจะไม่ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากการ บริโภคสินค้าจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการหรือผู้จำหน่ายอีกต่อไป
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5946
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf100.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.