Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5947
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในการสอบสวน ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา
Other Titles: LEGAL PROBLEM AND OBSTACLE RELATING TO THE PROTECTION OF A RIGHT ON THE INVESTIGATION OF THE ALLEGED OFFENDER OR AN ACCUSED IN A CRIMINAL CASE
Authors: พงศ์พันธ์ วิรัชอารีกุล
Keywords: การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา
การสอบสวน
Issue Date: March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและความเสมอภาคของประชาชนในการ ได้รับความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวนซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเฉพาะสิทธิที่จะต้องมีทนายความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยใน คดีอาญาที่มีส่วนสำคัญต่อระบบงานยุติธรรมโดยตรง การสอบสวนผู้ต้องหาจึงต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้ องกัน มิให้มีการละเมิดและขัดต่อบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าทนายความเป็นผู้มีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ต้องหาถ้าหากพนักงาน สอบสวนเรียกให้มาฟังการสอบสวนและเพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมายแล้วไม่ยอมมาหรือไม่แจ้ง เหตุขัดข้องย่อมทำให้ผู้ต้องหาเสียโอกาสในการที่จะได้รับการช่วยเหลือและต่อสู้คดี รวมทั้งด้าน งบประมาณที่ใช้ในการจัดหาทนายความก็ยังเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งนี้เพราะโดยเฉลี่ยแล้วปัจจุบันประชากรใน ประเทศไทยประมาณ 67 ล้านคน แต่รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเฉลี่ยจาก งบประมาณที่ได้รับคิดเป็น 75 สตางค์ต่อประชาชน 1 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุให้การจัดหาทนายความให้ ผู้ต้องหาไม่มีประสิทธิภาพรัฐควรจัดสรรงบประมาณให้มากขึ้นกว่านี้ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือผู้ต้องหาซึ่งนับวันมีแต่จะมากขึ้น การไม่แจ้งสิทธิให้กับผู้ต้องหาก็ยังเป็นมูลเหตุที่ทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้ รับการคุ้มครองสิทธิเพราะมีผลเพียงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่านั้น ซึ่งยังเป็นการเปิ ดช่องว่างให้กับ พนักงานสอบสวนเลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในการแจ้งสิทธิข้างต้นทำให้เกิดผลเสียตกอยู่กับผู้ต้องหา นอกจากนี้การมีส่วนได้เสียของพนักงานสอบสวนกับผู้เสียหายในฐานะเป็นญาติพี่น้องสามีภริยาหรือผู้มี ผลประโยชน์ร่วมกันย่อมเป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหานั้นก็ยังไม่มีกฎหมายรองรับและเปิ ดโอกาสให้กับผู้ต้องหา ตั้งรังเกียจหรือคัดค้านพนักงานสอบสวนได้ดังเช่นองค์กรอำนวยความยุติธรรมอื่น ๆ ดังนั้นเห็นว่ารัฐควรปรับปรุงแก้ไขบทลงโทษแก่ทนายความเพื่อให้สิทธิของผู้ต้องหาในชั้น พนักงานสอบสวนได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรืออาจ จัดตั้งระบบการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาอย่างเป็ นรูปธรรมโดยยึดหลักหรือใช้แนวทางของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ระบบสำนักงานทนายความจำเลยของรัฐ (Public Defender System) เพื่อขจัดปัญหาเรื่อง เรียกทนายความแล้วไม่มาและงบประมาณอันจำกัดที่ต้องจ่ายเป็นรายคดีให้จ่ายเป็นเงินเดือนและทำหน้าที่ ดั่งเช่นเจ้าพนักงานของรัฐ โดยรัฐจะต้องสนับสนุนจัดสรรงบประมาณอันเป็นภาษีของประชาชนเพื่อการนี้ ด้วยและควรจะแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134/4 วรรคสาม เพื่อคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ของผู้ต้องหาอันพึงได้รับและควรมีบทบัญญัติการตั้งรังเกียจหรือคัดค้านพนักงานสอบสวนที่มี ส่วนได้เสียเพื่อประสิทธิภาพการอำนวยความยุติธรรมอย่างแท้จริง
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5947
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf96.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.