Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5949
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านการ ส่งออก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: THE MEDIA EXPOSURE, KNOWLEDGE, ATTITUDE AND PREPARATION FOR EXPORT OFFICERS TO ASEAN ECONOMIC COMMUNITY: AEC IN LAEM CHABANG INDUSTRIAL ESTATE CHONBURI PROVINCE
Authors: มนัชฎาภรณ์ เรืองขำ
Keywords: การเตรียมความพร้อม
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการเตรียมความพร้อมของ บุคลากรด้านการส่งออก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี” เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจแบบวัดผล ครั้งเดียว วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้คือ1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของบุคลากรด้าน การส่งออกที่มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการเปิดรับข่าวสารของบุคลากรด้านการส่งออกกับความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นฐานความรู้ของบุคลากรด้านการส่งออกกับทัศนคติ ที่มีต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทัศนคติของบุคลากร ด้านการส่งออกกับการเตรียมความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดกลุ่ม ตัวอย่างผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 650 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบรูณ์ โดยใช้วิธี สุ่มแบบหลายขั้นตอน ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าสถิติ สหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์และความแตกต่างของตัวแปรและใช้สถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31 - 35 ปี มีการศึกษา ในระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงาน 1 - 3 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายต่างประเทศ ในด้านของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากสื่อประเภทต่าง ๆ โดยรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสาร เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากสื่อเฉพาะกิจมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคลและ สื่อมวลชนตามลำดับ ด้านพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับสูง ด้านทัศนคติที่มีต่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับทัศนคติเป็ นกลาง ด้านการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก โดยมีการเตรียมความพร้อมจากความพร้อม 3 ด้าน โดยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี การสื่อสารมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติงานและด้านภาษาต่างประเทศตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการ ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในเรื่องการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนจากสื่อต่าง ๆ โดยรวม พบว่า สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์กับพื้นฐานความรู้ เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสื่อบุคคลเป็นเพียงสื่อเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพื้น ฐานความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในเรื่องของพื้น ฐานความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับทัศนคติที่มีต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ในขณะที่ทัศนคติที่มีต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของ บุคลากรในด้านส่งออกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่ระดับสำคัญทางสถิติ 0.01
Description: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5949
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf112.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.