Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6021
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการกำหนดคุณสมบัติขององค์กรผู้เสนอชื่อ สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Other Titles: LEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES SPECIFYING QUALIFICATIONS OF ORGANIZATIONS NOMINATING SENATORS IN ACCORDANCE WITH CONSTITUTION OF KINGDOM OF THAILAND B.E. 2550 (2007)
Authors: ลลิตา ยิ้มซ้าย
Keywords: องค์กร
สมาชิกวุฒิสภา
กลุ่มผลประโยชน์
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการ กำหนดคุณสมบัติขององค์กรผู้เสนอชื่อสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนวิธีการได้มาของสมาชิกวุฒิสภามาจาก 2 ทาง คือ โดยการเลือกตั้ง 76 คน ที่เหลือให้มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 7 คน คณะกรรมการ สรรหาจะคัดเลือกจากผู้ที่ลงทะเบียนสมัครเข้ามา โดยผ่านการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ เพื่อ ต้องการมิให้สมาชิกวุฒิสภาเข้าไปส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เหมือน รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 แต่การให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเสนอชื่อขององค์กร ไม่สามารถ แก้ปัญหาการเข้าไปอิงแอบกับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ กลับยิ่งซ้ำเติมว่า สมาชิก วุฒิสภาในระบบสรรหาเข้ามาทำหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มหรือองค์กรของตนมากกกว่า ผลประโยชน์ส่วนรวม จากการศึกษาพบว่า องค์กรต่างๆที่ส่งตัวแทนเข้ารับการสรรหานั้น ยังไม่มี ความชัดเจน เป็นรูปธรรมยังขาดความบกพร่องในการกำหนดความหมาย คำนิยามว่าต้องการ องค์กรประเภทใดกันแน่ที่สามารถส่งตัวแทนเข้ามาได้ หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้นไม่สามารถตอบ คำถามการเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางการเมือง มีความเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่ แสวงหาผลกำไรได้อย่างแท้จริง ตัวแทนที่องค์กรส่งเข้ารับการสรรหาก็ยังขาดความเชื่อมโยงกับ องค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ส่งบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม เป็นที่รู้จัก โดยบางคนไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง เข้าใจถึงปัญหาขององค์กรพอที่จะเข้ามาเป็นตัวแทนของภาคองค์กร ภาคสาขาอาชีพนั้นได้เลย และ ความหมายของภาคต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้นยังขาดความชัดเจน จากการศึกษาเห็นว่าควรมีการแก้ไข เพิ่มเติม โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนในคำนิยามของคำว่า องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิก วุฒิสภา นอกจากนี้ควรเพิ่มบทบัญญัติให้ตัวแทนมีความเชื่อมโยงกับองค์กรอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประชาชน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นกลางและไม่มีผลประโยชน์ซ้อน ควรกำหนดคุณสมบัติของตัวแทนจากองค์กร ให้เชื่อมโยงและเป็นตัวแทนขององค์กรอย่างแท้จริง และกำหนดความหมายของภาควิชาการ ภาค วิชาชีพ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาให้ชัดเจน
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6021
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf69.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.