Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6028
Title: รูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานและความผูกพัน ต่อองค์กร ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
Other Titles: JAPANESE MANAGEMENT STYLE AFFECTING WORK HAPPINESS AND ORGANIZATIONAL COMMITMENT IN AMATANAKORN INDUSTRIAL ESTATE, CHONBURI PROVINCE
Authors: ประชา ดุจมะยูร
Keywords: รูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น
ความสุขในการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์กร
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหาร แบบญี่ปุ่น จำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่มีรูปแบบการ บริหารแบบญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาถึงระดับความสุข 8 ประการในการทำงาน จำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ของพนักงานในองค์กรที่มีรูปแบบ บริหารแบบญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น กับ ระดับความสุข 8 ประการในการทำงานของพนักงานที่ ปฏิบัติงานในองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัด ชลบุรี และ 4) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น กับ ระดับความ ผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น ในเขตนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นพนักงานชาวไทยที่ปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจที่มีรูปแบบการ บริหารแบบญี่ปุ่นจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านเพศ ตำแหน่งงาน และรายได้มี ผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านตำแหน่งงาน และ ด้านรายได้เฉลี่ย มีผลต่อความ คิดเห็นเกี่ยวกับความสุข 8 ประการในการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3)ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านตำแหน่งงาน และ ด้านรายได้เฉลี่ย มีผลต่อความผูกพันต่อ องค์กรที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) รูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่นมี ความสัมพันธ์กับความสุข 8 ประการในการทำงานของพนักงานโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกใน ระดับค่อนข้างสูง โดยรายด้านพบว่า ด้านการจ้างงานระยะยาว ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมความรับผิดชอบ ด้านการปรับตำแหน่งแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้านการควบคุม บังคับบัญชา และด้านการเน้นความสามารถที่รอบด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ส่วนด้านการให้ความสำคัญกับพนักงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับที่ค่อนข้างสูง และ (5) รูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานด้านโดยรวมมี ความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง และรายด้านพบว่าทั้งสามด้านคือ ด้านความรู้สึก ด้านการ คงอยู่ และด้านมาตรฐานทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6028
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf108.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.