Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6143
Title: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครอง ศึกษากรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด แก่หน่วยงานทางปกครอง
Other Titles: THE MEDIATION IN THE ADMINISTRATIVE JURISDICTIONS : THE CASE OF COMPENSATION RELATED TO LIABILITY FOR A WRONGFUL ACT BY THE PAYMENT TO THE ADMINISTRATIVE AGENCIES
Authors: ชุติมา ภูบุญเต็ม
Keywords: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ค่าสินไหมทดแทน
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หน่วยงานทางปกครอง
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ชุติมา ภูบุญเต็ม. 2562. "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครอง ศึกษากรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด แก่หน่วยงานทางปกครอง." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ชุติมา ภูบุญเต็ม_T182792
Abstract: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation of Dispute) เป็นวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการดำเนินการที่มีกระบวนการไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน สามารถระงับข้อพิพาทได้อย่างรวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ จากกระบวนการไกล่เกลี่ยยังเกิดจากการที่คู่กรณีได้มีส่วนร่วมในการระงับข้อพิพาท การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทจึงอาจเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครอง (Administrative Dispute) อันจะส่งผลทำให้ข้อพิพาททางปกครองนั้นสามารถระงับลงได้โดยไม่ต้องใช้การดำเนินกระบวนพิจารณาทั่วไปที่อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการดำเนินคดี และผลของคำพิพากษาอาจจะไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย สารนิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาการนำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยการไกล่เกลี่ยมาใช้กับคดีปกครองที่เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายของฝ่ายปกครอง (Administration) จากการทำละเมิด ในกรณีที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ไม่ต้องปฏิบัติตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นคดีปกครองประเภทหนึ่งที่อาจใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ เนื่องจากคดีประเภทนี้ ฝ่ายปกครอง มีอิสระในการใช้ดุลพินิจ (Discretion) เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ต้องชดใช้ และคดีประเภทนี้ หากรอจนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็อาจทำให้ความเดือดร้อนเสียหายที่หน่วยงานทางปกครอง (Administrative Agencies) อาจได้รับเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ล่าช้า ซึ่งมีผลให้เกิดภาระในเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดจากค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เนิ่นนานออกไป โดยจะส่งผลให้ผู้ที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Compensation) ต้องมีภาระเพิ่มเติมในการที่ต้องชำระดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ใช้ไปในระหว่างการพิพากษาคดี และจากการศึกษาวิจัยพบว่า ศาลที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองในหลายประเทศ รวมทั้งศาลปกครองในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีต่างก็ตระหนักถึงปัญหาการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองที่ล่าช้า และผลของคำพิพากษาที่อาจไม่เป็นไปตามความมุ่งหวังของคู่กรณี จึงมีการตราบทบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Law) เพื่อเป็นทางเลือกให้คู่กรณีสามารถระงับข้อพิพาททางปกครองด้วยวิธีอื่นนอกจากวิธีพิจารณาทางศาล และให้อำนาจศาลปกครองดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นได้ โดยเฉพาะการระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ย
Description: ชุติมา ภูบุญเต็ม. (2562). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครอง ศึกษากรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด แก่หน่วยงานทางปกครอง. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6143
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.