การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีความเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในอำนาจตุลาการ พัฒนากระบวนการยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา มีระบบลูกขุน ผู้พิพากษาสมทบ และพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับศาลอาญาไทย คือ ระบบผู้พิพากษาสมทบ การวิจัยได้จัดทำกฎหมายต้นแบบเป็นร่างพระราชบัญญัติผู้พิพากษาสมทบในคดีอาญา พ.ศ. .... มี 5 หมวด 20 มาตรา และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญของบทบัญญัติประกอบด้วย คุณสมบัติของผู้พิพากษาสมทบ การได้มาของผู้พิพากษาสมทบ การดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ อำนาจหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบ และการอุทธรณ์และฎีกา

คำอธิบาย

พรเพชร ชลศักดิ์ตระกูล. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.

คำหลัก

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ผู้พิพากษาสมทบ, คดีอาญา

การอ้างอิง

พรเพชร ชลศักดิ์ตระกูล. 2561. "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.