Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6156
Title: ความยุติธรรมทางเลือกกับคดีครอบครัว
Other Titles: Alternative Dispute Resolution:A Choice of Justice in the Family Litigation
Authors: ผศ.ทัชชภร มหาแถลง
Keywords: คดีครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัว การไกล่เกลี่ย การประนอม
Family case, Juvenile and Family Court, Mediation and Conciliation
Issue Date: 20-December-2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุมครั้งที่ 13 ประจะปีการศึกษา2561
Abstract: ในกระบวนการยุติธรรมสำหรับคดีครอบครัวมิได้มีเพียงแต่การฟ้องคดีเพื่อตัดสินข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ หากแต่ยังมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คู่พิพาทได้เลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาท อีกทั้งยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดี ตกลงกันอย่างฉันท์มิตรและสร้างความเข้าใจให้กันได้ การระงับข้อพิพาททางเลือก จะเริ่มต้นจากการเจรจาต่อรองซึ่งเป็นกระบวนการแรกสุดเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างตัวบุคคล แต่หากการพูดคุยทั้งสองฝ่ายไม่เป็นผลจึงอาจต้องมีบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายให้การยอมรับเข้าช่วยเป็นตัวกลางประสานให้ทั้งสองฝ่ายบอกความต้องการและมุ่งหาทางออกร่วมกัน กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวนี้เรียกว่า การไกล่เกลี่ย หรือการประนอม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในครอบครัวถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันให้ได้มากที่สุด โดยที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการประนอมไว้ในหมวด 13 การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว เพื่อให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นหลัก The judicial process to resolve this conflict however is not limited to only litigation. On the contrary, there are other judicial alternatives for conflicting parties to choose from to reach reconciliation while able to maintain an amicable relationship or, even better in some cases, enhance the understanding between each other. The Alternative Dispute Resolution (ADR) starts first at the negotiation, a process limited between the two disputed parties. However, when failed, the third party whom both disputants mutually agree to act as a mediator will be introduced. With the mediator in place, disputed couples can mutually express their wishes and find a possible solution through this third party. As family disputes are sensitive and sentimental because it involves complex relationships among so many persons, resolving such a conflict therefore should be done with great care, understanding and desire to fostering good relationships between parties concerned. The Juvenile and Family Court and the Juvenile and Family Procedures Act, B.E 2553 (2010) has stipulated details in relation to the mediation in Chapter 13 Re: Proceedings over family litigation, to enable disputants to reach an agreement or to allow them to mediate their dispute by mainly taking into consideration the wellbeing and welfare of their beloved family.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6156
Appears in Collections:LAW-04. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับนานาชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2.บทความวิชาการ(แก้ไขตามความเห็นของผู้ทรง).docxบทความวิชาการเรื่องความยุติธรรมทางเลือกกับคดีครอบครัว54.94 kBMicrosoft WordView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.