กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6205
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS USE OF POWER BY PUBLIC ASSEMBLY OFFICIAL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช ตติยวัฒนชัย
คำสำคัญ: การชุมนุมสาธารณะ
การชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน
เขตอำนาจศาล
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ธีรเดช ตติยวัฒนชัย. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ธีรเดช ตติยวัฒนชัย_T183615
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ โดยพิจารณาถึงความไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องของบทบัญญัติเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องของอำนาจศาล (Jurisdiction) ซึ่งมาตรา 21 วรรคสอง วางหลักเกณฑ์ว่า หากผู้ชุมนุมทำการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้ หรือฝ่าฝืนกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอศาลแพ่ง (Civil Court) หรือศาลจังหวัด (Provincial Court) ที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ (Public Assembly) เพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะ ในระหว่างรอคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ (Public Assembly Officials) มีอำนาจกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการดูแลการชุมนุมสาธารณะที่คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Office of Royal Thai Police) และมาตรา 22 วางหลักว่า เมื่อได้รับคำขอให้มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 21 แล้ว ให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นเป็นการด่วน และถ้าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามประกาศของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ให้ศาลมีคำสั่งออกคำบังคับให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด คำสั่งศาลในกรณีนี้ ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค โดยคำสั่งศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคให้เป็นที่สุด
รายละเอียด: ธีรเดช ตติยวัฒนชัย. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6205
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1. หน้าปก.pdf67.16 kBAdobe PDFดู/เปิด
2. บทคัดย่อ - Abstact.pdf304.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
3. กิตติกรรมประกาศ.pdf66.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
4. สารบัญ.pdf118.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
5. บทที่ 1.pdf208.64 kBAdobe PDFดู/เปิด
6. บทที่ 2.pdf974.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
7.บทที่ 3.pdf931.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
8. บทที่ 4.pdf358.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
9. บทที่ 5.pdf196.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
10. บรรณานุกรม.pdf260.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
11.ภาคผนวก ก.pdf47.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
12. เนื้อหา ภาคผนวก ก (International Covenant on Civil and Political Rights).pdf302.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
13. ภาคผนวก ข.pdf47.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
14. เนื้อหา ภาคผนวก ข (พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558).pdf108.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
15. ภาคผนวก ค.pdf51.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
16. เนื้อหา ภาคผนวก ค คำประกาศแห่งสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ลงวันที่ 26 สิงหำคม ค.ศ. 1789.pdf357.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
17. ประวัติผู้เขียน.pdf248.51 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น