Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6207
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560
Other Titles: LEGAL PROBLEMS CONCERNING CONTRACT FARMING SYSTEM UNDER THE CONTRACT FARMING PROMOTION AND DEVELOPMENT ACT B.E.2560
Authors: วิภารัตน์ กล่อมทอง
Keywords: เกษตรพันธสัญญา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วิภารัตน์ กล่อมทอง. 2562. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_วิภารัตน์ กล่อมทอง_T183607
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ของประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยระบบเกษตรพันธสัญญาตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ในปัจจุบันยังขาดความสมดุลและไม่เป็นธรรม ขาดกลไกในการถ่วงดุลทั้งองค์กรกลางภาครัฐและบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนรองรับการประกอบการในระบบเกษตรพันธสัญญาทำให้เกิดพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบและการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจที่ยังมีปัญหาเรื่องความเป็นธรรมและมิได้คุ้มครองเกษตรในฐานะผู้มีอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการการลงโทษ ที่กำหนดบทลงโทษไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในระบบเกษตรพันธสัญญาที่ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมถึงปัญหาที่ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญา ดังนั้น จึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีบทบัญญัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะการคุ้มครองเกษตรกรซึ่งไม่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการทำเกษตรพันธสัญญา จากการศึกษาพบว่า ต่างประเทศ มีการตรากฎหมายโดยมีการกำหนดวิธีการและขั้นตอนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความชัดเจน ความสมบูรณ์ และการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและมีข้อกำหนดของสัญญาการผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีความเข้าใจง่ายความชัดเจนสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย การจัดทำสัญญาต้องมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและการกระทำของผู้ประกอบการต้องกระทำโดยคำนึงถึงเกษตรกร แต่กฎหมายในประเทศไทยนั้น ยังพบว่าการทำการเกษตรพันธสัญญานั้น เป็นการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาที่มีความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ คือระหว่างเกษตรกรกับบริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายกว่า มีความรู้มากกว่า ดังนั้นบริษัทจึงมีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าเกษตรกรและนำไปสู่การทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรรวมทั้งการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
Description: วิภารัตน์ กล่อมทอง. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6207
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.