ศูนย์เรียนรู้การปลูกสมุนไพรไทย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันคนเมืองเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ทำให้ประชาชนเริ่มหันมาสนใจการรักษาสุขภาพด้วยวิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากยาทานปัจจุบันไม่สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บบางชนิดให้หายขาดได้ ประชาชนจึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้วยการเลือกรับประทานอาหารจำพวกพืชผักสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสมุนไพรนอกจากจะมีคุณประโยชน์ทางยาแล้วยังปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้าในประเด็นของการปลูกสมุนไพรไทยกับการออกแบบสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีขั้นตอนและวิธีการศึกษาโดย รวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ เอกสาร ตารา สื่อดิจิทัล กรณีศึกษา รวมทั้งการศึกษาจากการถ่ายภาพจากสถานที่จริง แล้วจึงนาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ทดลอง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยนำทฤษฎีแสงและการเจริญเติบโตของพืช และทฤษฎีเกษตรกรรมในเมืองมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุน เพื่อใช้ในงานสถาปัตยกรรมให้กับบุคคลที่สนใจหรือบุคคลเกี่ยวข้องได้นำข้อมูลความรู้ไปใช้พัฒนาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด การนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในออกแบบโครงการโดย มีแนวคิดในการออกแบบคือการถอดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากบริบทของการปลูกพืชสมุนไพรในประเทศไทย โดยการนำรูปแบบการปลูกสมุนไพรมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ ดังนั้นการศึกษาประเด็นทางสถาปัตยกรรมเดี่ยวกับการสร้าง Space เพื่อการเข้าถึงสมุนไพร เพื่อเป็นการส่งเสริมสมุนไพรไทย และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการทำให้เกิดเป็นรูปแบบเกษตรกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

คำอธิบาย

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

สมุนไพรไทย

การอ้างอิง

นุศรา สายเพชรสันติ. 2561. "ศูนย์เรียนรู้การปลูกสมุนไพรไทย." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.