Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโอรส เหล่าสันติสุขen_US
dc.date.accessioned2019-06-08T05:46:50Z-
dc.date.available2019-06-08T05:46:50Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationโอรส เหล่าสันติสุข. 2561. "สถาปัตยกรรม รอยต่อระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายทางของงานไม้." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractปัจจุบัน ความเข้าใจในเรื่องของวัสดุประเภทไม้ ทั้งชนิด รูปแบบและวิธีการก่อสร้างถูกให้ความสนใจอยู่ในวงจำกัด ในขณะที่สังคม ให้ความสนใจกับวัสดุยุคใหม่ เช่น พลาสติกโพลิเมอร์ คอนกรีต ทั้งๆที่รูปแบบของไม้ สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นงานสถาปัตยกรรม อันนำไปสู่ข้อสงสัยและคำถาม ถึงความเป็นไปได้บางอย่าง ของทิศทางการออกแบบไม้ และงานสถาปัตยกรรม โครงการวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรม รอยต่อระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายทางของงานไม้ เป็นโครงการออกแบบเชิงทดลอง เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการสร้างงานสถาปัตยกรรม ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่มีอยู่เดิม และนำมาพัฒนาต่อ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเข้ากับพื้นที่ๆมีลักษณะเฉพาะ หรือบริบทที่มีข้อจำกัดด้านการก่อสร้าง ด้วยการศึกษา รวบรวม จำแนก รูปแบบของการเข้าไม้แบบต่างๆ ที่มีศักยภาพในการสร้างพื้นที่อย่างมีระบบ ลดความซับซ้อนในการต่อหรือการเข้าไม้ลง เพื่อความเข้าใจง่ายแก่บุคคลทั่วไปและยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด หรือซ่อมแซมได้ได้ด้วยตนเอง และยังเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ เทคนิค ในเรื่องของงานไม้ผ่านตัวสถาปัตยกรรมซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษา และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตผ่านพื้นที่รอยต่อเหล่านี้แก่สังคม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริม การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการออกแบบและทดลอง จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษา พัฒนาเทคนิคการเข้าไม้ไปสู่องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม การประกอบยึดไม้เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้ไม้ที่มีหน้าตัดขนาดใหญ่และยังคงเป็นการใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถปรับใช้ให้เข้ากับสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เดิม หรือสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ โดยปฏิเสธการใช้วัสดุช่วยยึดใดๆ นอกจากระบบการเข้าไม้ที่ถูกพัฒนาเท่านั้น และยังสามารถลดปัญหาการก่อสร้างจากพื้นที่ๆมีความเฉพาะตัวสูง นอกจากนี้ยังเป็นการสอดแทรกพื้นที่ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้กับผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์การศึกษาเรียนรู้ผ่านพื้นที่รอยต่อ พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ และสภาพแวดล้อมen_US
dc.description.sponsorshipคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseries57006869_โอรส เหล่าสันติสุข_2561en_US
dc.subjectการเข้าไม้en_US
dc.subjectwood jointen_US
dc.subjectประเภทของข้อต่อไม้en_US
dc.titleสถาปัตยกรรม รอยต่อระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายทางของงานไม้en_US
dc.title.alternativeTHE JUNCTION BETWEEN BEGINNING AND DESTINATION OF WOODEN ARCHITECTUREen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57006869 โอรส เหล่าสันติสุข.pdf14.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.