สถาปัตยกรรมจากการลอกเลียนธรรมชาติ : โครงการท่าเรือใหม่แหลมฉบัง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

เมื่อธรรมชาติเป็นครูที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์สิ่งที่มนุษย์พบเห็นในธรรมชาติจึงเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มนุษย์สร้างสรรค์อารยธรรมงานศิลปะสิ่งประดิษฐ์สถาปัตยกรรม นวัตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ วงการพัฒนาและธุรกิจเริ่มหันมาสนใจการแก้โจทย์แนวใหม่ที่เรียกกันว่า “ไบโอมิมิครี” หรือการเลียนแบบธรรมชาติ จากแนวความคิดข้างต้น ทำให้เกิดความสนใจและนำไปสู่การศึกษาสิ่งมีชีวิตทางทะเล โดยเฉพาะปลาซึ่งปลาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการในเรื่องของโครงสร้างกระดูกเป็นชนิดต้น ๆ และการเคลื่อนไหวในแนว 3 มิติ นำไปสู่การตั้งสมมุติฐานในการเกิดงานสถาปัตยกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ THAI4.0 ที่มีนโยบายเกี่ยวกับท่องเที่ยวทางเรือสำราญ เนื่องจากธุรกิจเรือสำราญมีการขยายตัวอย่างมากในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยยังไม่มีสถาปัตยกรรมที่รองรับในส่วนนี้จึงเป็นที่มาของการเกิดโครงการ วิธีการดำเนินการศึกษา เริ่มจากการวิเคราะห์ทางกายภาพของปลาจำแนกลักษณะทางกายภาพที่มีในปลา สัดส่วน รูปทรง โครงสร้าง ลักษณะการเคลื่อนไหว การทดลองเพื่อหาความเป็นไปได้ในการเกิดพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้างต้น ประยุกใช้กับสภาพพื้นที่ การเกิดรูปแบบ วัสดุ และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มาจากธรรมชาติ

คำอธิบาย

วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

Biomimicry, ทฤษฎีเกี่ยวกับ Biomimicry, ทฤษฎีเกี่ยวกับปลา, การท่องเที่ยวทางเรือยอช์ต, ท่าเรือและเรือ

การอ้างอิง

วงศธร สุขัคคานนท์. 2561. "สถาปัตยกรรมจากการลอกเลียนธรรมชาติ : โครงการท่าเรือใหม่แหลมฉบัง." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.