Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6343
Title: เส้นทางเข้าสู่การเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Roadmap to be a Member of Parliament, Nonthaburi Province
Authors: ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
Keywords: การเมือง
การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคการเมือง
Issue Date: May-2555
Publisher: วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)
Series/Report no.: 18 (1)
Abstract: การศึกษาเส้นทางเข้าสู่การเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดนนทบุรี และวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ภูมิหลังของ ส.ส.จังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการ อดีตนักการเมืองท้องถิ่น วิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งหลัก คือ การสร้างมวลชน การใช้ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน การใช้รถประชาสัมพันธ์ และการเดินหาเสียงแบบเข้าถึงประชาชน ปัจจัยที่สนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ ฐานเสียงจากเครือญาติ การสนับสนุนของนักการเมืองท้องถิ่น การรวมกลุ่มทางการเมือง ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน และความนิยมในตัวผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองที่สังกัด การวิจัยในอนาคตควรศึกษาเปรียบเทียบความเจริญของจังหวัดระหว่างจังหวัดที่มีส.ส.ได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องกับจังหวัดที่ไม่มีความต่อเนื่องของ ส.ส. The purpose of this study is to examine data about Nonthaburi Province politicians who have been elected to the parliament. The data collection consisted of semi-structured interview with politicians, review of relevant documents, interviews and observation. The interviews examined personal histories, attitude to political issues, relationships and campaigners, as well as political history in the province. Findings showed the majority of Nonthaburi Province politicians used to be former state officers or local governors. The popular campaign for election is comprised of mass movement, campaign’s representatives, campaign vehicle, and knock the door campaign. There were many important factors influencing who would be elected, such as their family networks, political coalition and politicians’ political party. According to findings, it is recommended that the future researcher should conduct a comparative study of the province development between province having continuing M.P. and that of non-continuing M.P.
Description: นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดนนทบุรี และวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6343
ISSN: 0858-9216
Appears in Collections:BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55บทความวิจัยนนทบุรีครบ.pdf991.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.