ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการไต่สวนข้อเท็จจริง ของพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามกฎหมายว่าด้วย มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ทางนิติศาสตร์ที่มุ่งศึกษาอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (Fact Inquiry Subcommittee of Public Sector Counter Corruption Commission) ตามมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 (Executive Measures in Counter Corruption Act B.E. 2551 (2008)) พิเคราะห์กรณีการยกเว้นให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ หรือเคยสอบสวนหรือพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหามาแล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง (Fact Inquiry Subcommittee) ได้อีก ซึ่งการแต่งตั้งในลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาต่อหลักความเป็นกลาง (Principle of Impartiality) อันเป็นปัญหาว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นมีความเหมาะสมมีความสัมพันธ์ในทางภาวะวิสัย หรือมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงไม่เป็นกลางหรือไม่

คำอธิบาย

บัญชา สวัสดิ์ผล. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการไต่สวนข้อเท็จจริง ของพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามกฎหมายว่าด้วย มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.

คำหลัก

หลักความเป็นกลาง, การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง, เหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงไม่เป็นกลาง, กฎหมายมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

การอ้างอิง

บัญชา สวัสดิ์ผล. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการไต่สวนข้อเท็จจริง ของพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามกฎหมายว่าด้วย มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.