Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6462
Title: การจัดให้มีการคุ้มครองหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนและเด็กตามกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
Other Titles: PROVIDING PROTECTION FOR SURROGATED WOMEN AND CHILD ACCORDING TO THE LAWS ON PROTECTION OF THE CHILD BORN BY MEDICALLY ASSISTED REPRODUCTIVE TECHNOLOGY
Authors: อำพล แก้วปาน
Keywords: การตั้งครรภ์แทน
เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
ระบบการประกันภัย
กองทุนคุ้มครองเด็ก
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: อำพล แก้วปาน. 2562. "การจัดให้มีการคุ้มครองหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนและเด็กตามกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_อำพล แก้วปาน_T185030_2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กรณีให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) โดยใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว คือ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In Vitro Fertilization: IVF) เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณสมบัติที่พร้อมต่อการฝังตัวแล้วนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดสัญญารับตั้งครรภ์แทนที่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นพิเศษ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 (Protection of a child born by medically assisted reproductive technology act, B.E. 2558 (2015)) ใช้บังคับ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการรักษาภาวะการมีบุตรยากแก่ผู้ที่มีบุตรยาก โดยสามารถดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดา มารดา และสถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ แต่พระราชบัญญัตินี้กลับไม่ได้บัญญัติความคุ้มครองสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนให้ครอบคลุมโดยคุ้มครองแก่หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนอย่างเหมาะสม และไม่ได้กำหนดให้มีการรับรองสิทธิของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนไว้อย่างเพียงพอ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจึงอาจถูกละเมิดสิทธิในด้านสุขภาพทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights) และในกรณีที่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นถึงแก่ความตายก่อนที่เด็กจะเกิด พระราชบัญญัตินี้กำหนดเพียงให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครอง (Conservator) ขึ้นใหม่ ทำให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องรับภาระ หน้าที่เกินกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยวิทยานิพนธ์นี้จะมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Description: อำพล แก้วปาน. การจัดให้มีการคุ้มครองหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนและเด็กตามกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6462
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.