S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 118
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตอาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
    (2562-03-22) ธนพร คิ้วสถาพร
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ด้วยไคสแควร์และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว คือ one way analysis of variance (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ลักษณะส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ยี่ห้อรถยนต์ที่เข้ารับบริการ ประเภทรถยนต์ที่เข้ารับบริการ และอายุการใช้งานของรถยนต์ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประกอบด้วย อายุ (ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง) ระดับการศึกษา (ด้านส่วนใหญ่ท่านใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์วันใด) และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ด้านส่วนใหญ่ท่านใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์วันใด และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งเมื่อท่านนำรถยนต์เข้ารับบริการ) และ 3) ลักษณะส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ SPU CHONBURI ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ยี่ห้อรถยนต์ที่เข้ารับบริการ ประเภทรถยนต์ที่เข้ารับบริการ และอายุการใช้งานของรถยนต์ ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทอะไหล่รถยนต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
    (2562-03-22) พิมพิศา บุญรอด
    การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทอะไหล่รถยนต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงาน จำนวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ใช้การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way anova) การทดสอบจำแนกเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (pearson product moment correlation coefficient) และใช้สมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกันจะมีความผูกพันเชิงบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่มีอายุแตกต่างกันจะมีความผูกพันเชิงการคงอยู่ที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน จะมีความผูกพันทั้ง3ด้านที่แตกต่างกัน 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องการสรรหาและการคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทนและผลปะโยชน์อื่น ความปลอดภัยและสุขภาพ การประเมิงผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนขวัญและกำลังใจ และแรงงานสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์กรเชิงอารมณ์ เชิงการคงอยู่ และเชิงบรรทัดฐาน แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    กลยุทธ์ทางการตลาดทีมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี
    (2562-03-09) สายฝน นักผูก
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนีย ในเมืองพัทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา โดยจำแนกลักษณะประชากรตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ สัญชาติ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพัทยา ประสบการณ์ในการมาเที่ยวของผู้รับบริการ ความถี่ในการรับบริการ 3) เพื่อศึกษาถึงระดับอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ซึ่งผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการคลับอินซอมเนียทั้งหมดจำนวน 195 รายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่มและการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 35 ปี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป เป็นสัญชาติไทย อาศัยอยู่ในพัทยามากกว่า 3ปีขึ้นไป เคยมีประสบการณ์มาใช้บริการ มีความถี่ในการรับบริการ 1 -2 ครั้ง ด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นเห็นด้วยกับปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.01) แล้วเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับด้านลักษณะทางกายภาพ ( = 4.09) มากที่สุด และเห็นด้วยรองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ( = 4.07) ด้านราคา ( = 4.06) ด้านบุคคล ( = 4.01) ด้านทำเลที่ตั้ง ( = 3.99) ด้านกระบวนการ ( = 3.95) และด้านการส่งเสริมการขาย ( = 3.89) ตามลำดับ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมกับคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ โดยพนักงานทำงานรวมกันอย่างมีระบบและรวดเร็วทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกประทับใจในการมาใช้บริการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จได้ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความสนุกสนานรื่นเริงในการใช้บริการจากคลับอินซอมเนียในเขตเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริง ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความรู้สึกที่ดีและคุ้มค่าเมื่อได้มาใช้บริการคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริง
  • รายการ
    ความต้องการในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาระดับ อาชีวศึกษา:กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจ ความต้องการในการเรียนภาษาจีน
    (2562-03-09) ฉิงยู เฉิน
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา จำแนกตามเพศ อายุและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการในแต่ละด้านดังนี้ ด้านหลักสูตร นักศึกษามีความต้องการให้จัดเวลาเพิ่มให้ในการเรียนภาษาจีนสำหรับงานอาชีพ และเนื้อหาตรงกับความสนใจของนักศึกษา ฝึกทักษะครบทั้ง 4 ทักษะในเนื้อหาที่เรียนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติ ครูผู้สอน นักศึกษามีความต้องการผู้สอนเป็นคนจีนเจ้าของภาษาที่มีทักษะในการสอน รองลงมา คือ ต้องการให้ผู้สอนเป็นคนจีนเจ้าของภาษาที่มีพูดโต้ตอบสื่อสารกับผู้สอนและเพื่อน ต้องการให้ผู้สอนทบทวนบทเรียนเดิมก่อนสอนบทเรียนใหม่ และ มีความต้องการในระดับปานกลางเพียงข้อเดียว คือ นักศึกษาต้องการให้ผู้สอนสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทุกคน ด้านวิธีการผู้สอน นักศึกษามีความให้ครูผู้สอนใช้เทคโนโลยีในการสร้างความสนใจในการเรียน อาทิ e-learning หรือใช้สื่อการสอนที่หลากหลายโดยเฉพาะสื่อประเภทของสิ่งจริงหรือตัวอย่าง และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนโต้ตอบระหว่างเพื่อนๆ ด้านการวัดและประเมิน นักศึกษามีความต้องการและมีความต้องการในระดับปานกลางเพียงข้อเดียว คือ นักศึกษาต้องการผู้สอนเชิญผู้สอนชาวจีนมาร่วมกิจกรรมประกอบการสอนเพื่อสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ ให้ผู้สอนดำเนินการแก้ไขเมื่อพบว่านักศึกษายังไม่บรรลุตามเป้าหมาย จัดให้มีการทดสอบย่อยทุกครั้งที่เรียนเพื่อตรวจสอบ ด้านความสามารถในการใช้ภาษาจีน นักศึกษาต้องการให้ตนเองมีทักษะในการฟังภาษาจีนจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตหรือประกอบอาชีพ มีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนอย่างเชี่ยวชาญ
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถองค์การแห่งหนึ่ง ในเขตอาเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
    (2562-03-09) วัชรวิศว์ อิ่มละเอียด
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย อายุ ภาระพึ่งพึง อัตราเงินเดือน และประสบการณ์ในการทางาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถ 4) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถ ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานขับรถองค์การแห่งหนึ่ง ในเขตอาเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จานวน 145 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจได้แก่ การยกย่องและยอมรับนับถือ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และความรับผิดชอบในงาน อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการธารงรักษาได้แก่ นโยบายและการบริหาร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความปลอดภัยและความมั่นคง และค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับมาก 3) ด้านความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยส่วนบุคคลจาแนกตามอายุและภาระพึ่งพิงที่แตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน 5) ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านการยกย่องและการยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบในงาน นโยบายและการบริหาร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 SPU CHONBURI
  • รายการ
    อิทธิพลของปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีต่อความพึงพอใจ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ
    (2562-03-09) สิริวัฒนชัย อัจฉริยะเวช
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพล ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ กลุ่มตัวอย่าง ของการศึกษาคือเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับชั้นจำนวน 85 คน จากจำนวนประชากร 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ อายุราชการ อายุในสายงาน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพสมรส ระดับชั้นยศ ที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สำหรับปัจจัยในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านลักษณะงานเท่านั้นที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • รายการ
    แนวทางการพัฒนาการให้บริการสถานีปั๊มก๊าซ NGV เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ
    (2562-03-09) รุ่งทิพย์ วิไลเลิศ
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานขับรถโดยสารธารณะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) ในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวรถยนต์ ที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของพนักงานขับรถโดยสารธารณะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาการให้บริการสถานี ปั๊มก๊าซ NGV ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์เชิงลึก จานวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาการให้บริการบริการสถานีปั๊มก๊าซ NGV เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ ในจังหวัดชลบุรี ที่ให้ความสาคัญมากที่ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.86 โดยภาพรวมเรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.86 ด้านส่งเสริมการตลาด ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.74 ด้านราคา 3.45 และด้านสถานที่ให้ความสาคัญน้อยที่สุด ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.36 ตามลาดับ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับแนวทางการพัฒนาการให้บริการสถานีปั๊มก๊าซ NGV เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ คือ ด้านสถาที่มีผลกระทบต่อพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ อย่างมีนัยสาคัญที่ .05
  • รายการ
    ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานขับรถบริษัทขนส่ง แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
    (2562-03-09) จีรพรรณ ตู้ประทุม
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นปัจจัยด้านแรงจูงใจของพนักงานขับรถ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานขับรถ3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันซึ่งประกอบด้วย อายุ สถานภาพ รายได้ และอายุการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานขับรถ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานขับรถ ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานขับรถบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 114 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจได้แก่ การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน และความรับผิดชอบในงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ เงินเดือนสวัสดิการความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน นโยบายการบริหาร ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา อยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามอายุ รายได้ และอายุการทำงานที่แตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรที่แตกต่างกัน 5) ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านลักษณะของงาน ความรับผิดชอบในงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และความมั่นคงในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ของบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    (2562-03-09) ปรียานุช บุญเพ็ง
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์บริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำแนกตามปัจจัยด้านประชาการศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นลูกค้าบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (check–list) และแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าโดยใช้สถิติ ( t test) ในกรณีเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม และใช้สถิติ (one–way ANOVA) ในกรณีเปรียบเทียบมากว่า 2 กลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะได้นำไปเปรียบเทียบรายคู่ และการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด II ผลการวิจัยพบว่า บริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด มีความน่าเชื่อถือและ ภาพลักษณ์ของทุกด้านโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.61 และ 3.31, SD =0.68 และ 0.83 ตามลาดับ) ส่วนทางด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.45, SD =0.55) ส่วนผลของการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาด 7 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคลหรือพนักงาน ด้านกระบวนการและด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับความ น่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของบริษัท เอ็มซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • รายการ
    ปัจจัยด้านลักษณะของร้านค้าและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการ ของร้านค้าสินค้ามือสองในตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว
    (2562-03-09) จริญญา ฝากาทอง
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของร้านค้าสินค้ามือสองและกล ยุทธ์การตลาดในตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้วและ 2) เพื่อศึกษาผลประกอบการของร้านค้าสินค้า มือสองที่มีความแตกต่างกันตามลักษณะของร้านค้าสินค้ามือสอง และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพล ของปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อผลประกอบการร้านค้าสินค้ามือสอง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ประกอบการร้านค้าสินค้ามือสองจำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว ในการทดสอบสมมติฐานหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระใน แต่ละกลุ่ม และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัย พบว่าผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจมาเป็น ระยะเวลา 7 – 10 ปี มีแหล่งเงินทุนเก่าจากการขายมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นร้านขายรองเท้ามือสอง มากที่สุด ส่วนด้านผลประกอบการของร้านค้า พบว่าภาพรวมของผลประกอบการอยู่ในระดับมาก โดยมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมา คือ ด้าน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคา ด้านพนักงานขาย ด้านกระบวนการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ โดยกลยุทธ์ทางการตลาดด้านพนักงานขายมีผลต่อผลประกอบ ร้านค้ามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้าน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามลำดับ
  • รายการ
    ความรู้ในตราสินค้าและความคิดเห็นต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
    (2562-03-09) เมธี ภู่ศรี
    การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความรู้ในตราสินค้าและความคิดเห็นต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจความรู้ในตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research method) ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างรวม 210 คน เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาตามความสะดวก (Convenience sampling) กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 เขต คือเขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตคลองเตย และเขตบางเขน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive statistical analysis) โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และนำเสนอข้อมูลในตารางเพื่ออภิปรายผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวง ด้านการตระหนักรู้ตราสินค้า ในส่วนการจดจำตราสินค้า (Brand recognition) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ และสีเอกลักษณ์ขององค์กร รวมถึงชื่อย่อภาษาไทยของการไฟฟ้านครหลวงได้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบเอกลัษณ์ตราสินค้าที่มีความโดดเด่น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจดจำข้อมูลเชิงรายละเอียดที่เกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานของการไฟฟ้านครหลวงได้ เช่น ชื่อย่อภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ศูนย์กลางข้อมูล (Call center) และพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง การตระหนักรู้ตราสินค้า ในส่วนของการระลึกถึงตราสินค้า (Brand recall) กลุ่มตัวอย่างจะระบุชื่อ การไฟฟ้านครหลวง เป็นอันดับแรกมากที่สุด และยังพบว่ามีการระลึกถึงการไฟฟ้านครหลวงในเชิงบวกมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านองค์กร และด้านการบริการ ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวงล้วนเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกทั้งสิ้น ประกอบ ด้วย “ด้านคุณสมบัติ” (Attribute) “ด้านคุณประโยชน์” (Benefit) และ “ด้านทัศนคติ” (Attitudes) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าภาพลักษณ์การไฟฟ้านครหลวง ที่มีผลเชิงบวกมากเป็นอันดับแรก คือประเด็น “การไฟฟ้านครหลวงมีความมั่นคง” ความคิดเห็นที่มีต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ สีมีความโดดเด่น สะดุดตา สามารถสื่อความหมายถึงองค์กรได้ และยังมีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน มีการจัดวางองค์ประกอบได้สมดุลสวยงาม รวมถึงเป็นตราสัญลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำ และยังมีรูปแบบที่มีความทันสมัย
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมเวลโกลว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
    (2562-03-09) ชลธิชา กิ่งจำปา
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของลักษณะขององค์กรและการเลือกผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้า 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้า 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของบริษัทไทยและต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่บริษัทต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกลว์จังหวัดฉะเชิงเทราที่ใช้บริการผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้าจากภายนอก จานวน 123 บริษัท ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมุติฐานจะใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ Chi square ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้าของบริษัทต่างๆ ในนิคมคมอุตสาหกรรมเวลโกลว์จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ให้ระดับความสาคัญมากที่สุดคือ ด้านการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการ ซึ่งอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.94 โดยภาพรวมเรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการ ความน่าเชื่อถือ ด้านการดูแลเอาใจใส่ต่อลูกค้า ด้านราคา ด้านการตอบสนองและเต็มใจในการให้บริการ ซึ่งด้านที่ให้ความสาคัญน้อยที่สุดคือด้านบริการที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้าคือ ด้านทุนจดทะเบียน สัญชาติขององค์การ และประเภทธุรกิจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรถขนส่งสินค้าอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    การจัดการส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โครงการบ้านบ่อกบ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
    (2562-03-09) บวรลักษณ์ แตงจุ้ย
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อโครงการบ้าน บ่อกบ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านบ่อกบ จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของ ลูกค้าโครงการบ้านบ่อกบ ซึ่งผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในบ้านเลขที่ ที่ซื้อจากโครงการบ้านบ่อกบ จำนวน 220 คน จากจำนวนประชากร 477 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่ม และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สมรส แล้ว มีการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา เป็นพนักงานบริษัทเอกชน / รัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับส่วนประสมทางการตลาดของโครงการด้านบุคคล มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ซื้อขาย และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ ด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า พบว่า โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อตัวโครงการและที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมาคือ มีความพึงพอใจที่จะแนะนำเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักต่อ และมีความพึงพอใจเมื่อเทียบกับ ความความคาดหวังก่อนซื้อ ตามลำดับ
  • รายการ
    ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้าน ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
    (2562-03-09) ญาณกร ภิญญูวรเมธ
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถนภาพ ตำแหน่งงาน ระดับรายได้ 2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานบริษัทในเขตเมืองพัทยา กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ทำงานในร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านในเขตเมืองพัทยา จำนวน 150 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเลือกเก็บแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย 1) ความจงรักภักดีของพนักงานบริษัทในเขตเมืองพัทยาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.57, SD = 0.77) 2) ความจงรักภักดีของพนักงานจำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลโดยที่เพศชาย (x=3.58, SD = 0.70 ) มีความจงรักภักดีมากกว่าเพศหญิง (x=3.56, SD = 0.81) ด้าน สถานภาพ พบว่า กลุ่มที่มีสถานภาพการหย่า (x= 4.82, SD = 1.43 ) มีความจงรักภักดีมากกว่าสถานภาพหม้าย (x= 3.97, SD = 0.53 ) ด้านระดับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไป (x= 4.30, SD = 1.09) มีความจงรักภักดีมากกว่าผู้ที่มีรายได้ตํ่ากว่า 10,000 บาท (x= 3.50, SD = 0.70) และ 3) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานบริษัทในเขตเมืองพัทยาได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร (β = 0.36, p= 0.00) ด้านขวัญกำลังใจ (β = 0.13, p=0.00) ด้านทรัพยากร (β = 0.10, p = 0.00) และด้านการจัดการและด้านเครื่องจักร (β = 0.09, p = 0.00) ตามลำดับ SPU
  • รายการ
    ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของ ลูกค้าร้านดอกไม้สด
    (2562-03-09) พรพรรณ แซ่ตั้ง
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดีของลูกค้าร้านดอกไม้สดจำแนก ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์และ2)เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านกลยุทธ์การตลาดที่มี ต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคร้านดอกไม้สด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่ม ผู้บริโภคดอกไม้สดที่มาใช้บริการของร้านดอกไม้สดแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ซึ่งครอบคลุมอำเภอ ต่าง ๆ ดังนี้ เขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองปลาใหญ่ อำเภอบางละมุง อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอศรีราชา อำเภอบ่อทอง กิ่งอำเภอเกาะจันทร์ และอำเภอสัตหีบ โดยใช้ตาราง ของ Krejcie& Morgan (1970) ในการหาจำนวนตัวอย่างซึ่งได้เท่ากับ 126 คนที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 หรือระดับนัยสำคัญ .05 ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการ วิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การ วิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยt test และ F test Regression analysis ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่าลูกค้าที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีความจงรักภักดีไม่แตกต่างกันนอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย กลยุทธ์การตลาดเฉพาะด้านกระบวนการมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคดอกไม้สด
  • รายการ
    ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการของโรงเรียนสอนทำอาหารมีผลต่อความพึงพอใจของผู้เรียนในโรงเรียนสอนทำอาหารแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
    (2562-03-09) ศรีอำพร บัวบาน
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนโรงเรียนสอน ทำอาหาร (2 ) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนโรงเรียนสอนทำอาหารจาแนกโดยปัจจัย ส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนสอนทำอาหารที่มี ต่อระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อโรงเรียนสอนทำอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนในโรงเรียน สอนทำอาหาร จานวน 200 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ การทดสอบที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพล ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย (1) ความพึงพอใจของผู้เรียนโรงเรียนสอนทำอาหารที่มีต่อโรงเรียน สอนทำอาหาร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x = 3.84, SD = 0.79) (2) ด้านความพึงพอใจของ ผู้เรียน จำแนกตามลักษณะทางปัจจัยส่วนบุคคล ไม่แตกต่าง (3) ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่มีผล ต่อระดับความพึงพอใจของผู้เรียนในโรงเรียนสอนทำอาหาร ได้แก่ ด้านการให้บริการ (β = 0.28, p=0.00) ด้านความน่าเชื่อถือของโรงเรียน (β = 0.31, p= 0.00) ด้าน และด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน (β = 0.24, p = 0.00) ตามลำดับ
  • รายการ
    ผลกระทบของภาวะผู้นำและนโยบายการส่งเสริมการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันต่อ องค์กร: กรณีศึกษา บริษัท อาจีกาว่า แอนด์เอสซีไอ เมทัลเทค จำกัด
    (2562-03-09) ศักดิ์ชาย เมฆประสาท
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความผูกพันในองค์กรด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ด้าน บรรทัดฐาน 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำของหัวหน้างานด้านปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม แบบ สนับสนุน แบบเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กร และ3) ศึกษาอิทธิพลของนโยบาย ส่งเสริมการปฏิบัติงาน ด้านการยกย่องแก่พนักงาน ด้านการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ด้านการพัฒนา ศักยภาพที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กร ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากบริษัท อาจีกาว่า แอนด์เอสซีไอ เมทัล เทค จำกัด กลุ่มตัวอย่าง 102 คน จากจำนวนประชากร 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและ นโยบายส่งเสริมการปฏิบัติงาน มีผลต่อระดับ ของความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านจิตใจ 2) ด้านการคงอยู่ 3) ด้านบรรทัดฐาน และแต่ละด้านมีสัดส่วนของความผูกพันที่แตกต่างกัน โดยที่ หัวหน้างานแบบสนับสนุน มีผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรสูงที่สุดในส่วนของอิทธิพลของนโยบายส่งเสริมการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรนั้นพบว่า การปฏิบัติงานด้านการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ มีผลต่อความผูกพัน มากที่สุด
  • รายการ
    ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านกาแฟในเขตชิดลม กรุงเทพมหานคร
    (2562-03-09) ณัฐกานต์ พันธ์สวัสดิ์
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาด้านเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความถี่ในการเข้าใช้บริการ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคกาแฟในเขตชิดลม กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคกาแฟในเขตชิดลม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรในเขตชิดลม กรุงเทพฯ จากทั้งสิ้น จานวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว one way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐานหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่ม และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 83.0 กลุ่มอายุ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.0 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 68.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน20,001-30,000บาท คิดเป็นร้อยละ 47.0 ส่วนด้านความพึงพอใจกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด พบว่าด้านราคามีความพึงพอใจมากที่สุด (xˉ=3.73, SD = 0.72) รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการด้านส่งเสริมการตลาด ด้านการสร้างและนาเสนอภาพลักษณ์ทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านบุคคล และด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนด้านความพึงพอใจ พบว่าด้านมีความพึงพอใจโดยรวมกับร้านกาแฟแห่งนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (xˉ=3.67, SD = 0.75) รองลงมา ได้แก่ ด้านร้านกาแฟแห่งนี้เป็นร้านที่ประสบความสาเร็จอย่างมาก และด้านร้านกาแฟแห่งนี้สามารถตอบสนองความคาดหวังของท่านได้
  • รายการ
    รูปแบบภาวะผู้นาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิตอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
    (2562-03-09) ฑิฆัมพร มัทยาท
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านรูปแบบภาวะผู้นำของพนักงานฝ่ายผลิต (2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันซึ่งประกอบด้วย อายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และแผนกงานที่ปฏิบัติ ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต และ (4) เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในบริษัทแห่งหนึ่ง จำนวน 114 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นด้านรูปแบบภาวะผู้นำในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ระดับความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำต่างกัน 4) ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรต่างกัน และรูปแบบภาวะผู้นำตามทฤษฎี Path-Goal Theory ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ: กรณีศึกษา บริษัทโฟเรอเซีย แอนด์ ซัมมิท อินทีเรีย ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    (2562-03-09) วันเพ็ญ คุโณ
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจภายในของพนักงานระดับปฏิบัติการ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจภายนอกของพนักงานระดับปฏิบัติการ 3) ศึกษาระดับการประสิทธิภาพ ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ 4) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจภายในและปัจจัยแรงจูงใจภายภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานจากทุกฝ่ายจำนวน 230 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจภายในได้แก่ การยกย่องและยอมรับนับถือ ความมั่นคงในงาน การมีอำนาจหน้าที่ การมีส่วนร่วมในงาน และโอกาสในความก้าวหน้า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยแรงจูงใจภายนอกได้แก่ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน นโยบายและการบริหาร การฝึกอบรมและพัฒนา และค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง 3) ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านความประหยัด และความรวดเร็วในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยแรงจูงใจภายในด้าน ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ความมั่นคงในงาน และการมีอำนาจหน้าที่ ปัจจัยแรงจูงใจภายนอกด้าน ความปลอดภัยในการทำงานและนโยบายด้านการบริหาร มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05