Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6480
Title: การนำเสนอพุทธธรรมในฐานะรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
Other Titles: The Presentation of Buddhadhamma as the Foundation of Modern Thai Society : A Perspective of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto)
Authors: ธนภณ สมหวัง
Dhanapon Somwang
Keywords: พุทธธรรม
สังคมไทยสมัยใหม่
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ป.อ.ปยุตฺโต
ฺBuddhadhamma
Modern Thai society
Somdet Phra Buddhaghosacariya
P.A.Payutto
Issue Date: 2-October-2019
Publisher: สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning)
Citation: ธนภณ สมหวัง.(2019).การนำเสนอพุทธธรรมในฐานะรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ในการประชุมทางวิชาการสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย ครั้งที่ 43 (The 43 rd ASAIHL Thailand Conference : The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning). (น.128-135). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: บทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอพุทธธรรมเพื่อเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เพียรพยายามที่จะนำเสนอหลักพุทธธรรมที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ผ่านงานนิพนธ์ที่สำคัญของท่าน คือ พุทธธรรม ที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต ซึ่งนำเสนอเป็นสองภาค คือมัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ และภาคที่สอง หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนอแก่นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขา อริยสัจ 4 กรรม ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน การนำเสนอหลักพุทธธรรม จึงไม่เพียงการเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการนำเสนอเพื่อจะแก้ไขปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation of Buddhadhamma for the foundation of modern Thai society. The result of this study shows that Somdet Phra Buddhaghosacariya Diligently tried to present the Buddhadhamma as the foundation for modern Thai society through his the magnum opus is the Buddhadhamma on natural laws and values for life. He presented two main parts of Buddhism namely (1) the principles concerning the truth which is the core of nature, and (2) the middle path, or the way of practice to reach the ultimate truth. To answer the question of what is life ? How is life ? How should life be? How should life be?. Which is an important presentation of Buddhism Including the doctrine of the Threefold Truth, the Four Noble Truths, Karma, the Volitional Deeds and the Nirvana. The presentation of Buddhadhamma or the Buddhist doctrine is therefore not only the presentation of the Buddhist paradigm to be the basis of modern Thai society. But it is also a proposal to solve the problems of Thai society and global society in the present day.
Description: บทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอพุทธธรรมเพื่อเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เพียรพยายามที่จะนำเสนอหลักพุทธธรรมที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ผ่านงานนิพนธ์ที่สำคัญของท่าน คือ พุทธธรรม ที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต ซึ่งนำเสนอเป็นสองภาค คือมัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ และภาคที่สอง หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนอแก่นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขา อริยสัจ 4 กรรม ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน การนำเสนอหลักพุทธธรรม จึงไม่เพียงการเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการนำเสนอเพื่อจะแก้ไขปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6480
Appears in Collections:GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.