กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/658
ชื่อเรื่อง: การเลือกตัวคูณลดกำลังสำหรับการออกแบบเสาสั้นรับแรงอัดตามแนวแกน โดยพิจารณาถึงข้อมูลทางสถิติของมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุในเขต กทม.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตร สุจินดา
คำสำคัญ: เสาคอนกรีต
บ้านพักอาศัย
ตัวคูณลดกำลัง
การวิเคราะห์ความเชื่อมั่น
วันที่เผยแพร่: 25-ตุลาคม-2006
สำนักพิมพ์: การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 2
หมายเลขชุด/รายงาน: STR-03
บทคัดย่อ: กฎกระทรวงด้านวิศวกรรมโครงสร้างและปฐพีฉบับใหม่ ได้กำหนดค่าตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor) สำหรับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กไว้สองกรณี กรณีที่ 1 คือกรณีที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังคัดลอกมาจากมาตรฐาน ACI318-99 ซึ่งค่าดังกล่าวได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีที่ไม่มีการระบุฯ ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของตัวคูณลดกำลังที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 บทความนี้จะนำเสนอถึงการเลือกตัวคูณลดกำลัง ซึ่งจะนำมาใช้สำหรับกรณีที่ 2 ด้วยวิธีวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) ของเสาสั้นที่รับแรงอัดตามแนวแกน โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุ ที่เก็บมาได้จากโครงสร้างบ้านพักอาศัยที่ก่อสร้างโดยไม่มีการควบคุมคุณภาพในเขต กทม. อันได้แก่การกระจายทางสถิติของคุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้น กำลังของคอนกรีต และความคลาดเคลื่อนของขนาดและมิติต่าง ๆ อีกทั้งยังได้พิจารณาถึงพารามิเตอร์ทางสถิติต่าง ๆ ของสูตรคำนวณ และการเลือกจำนวน/ขนาดเหล็กเสริมตามยาวที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบ สุดท้ายบทความนี้ยังได้แนะนำค่าตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตสำหรับประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/658
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
S-001 Full ฉบับส่ง แก้ไขแล้ว Version 3.pdfFull Paper277.77 kBAdobe PDFดู/เปิด
S001 Power Point Presentation.pdfPower Point Presentation598.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น