Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6616
Title: การพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยเทคนิคการประเมินแบบสองขั้นตอน
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF RENTAL CAR EFFICIENCY EVALUATION USING TWO-PHASE TECHNIQUE
Authors: ดวงกมล จุลกะเศียน
Keywords: ประเมินประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล
การจัดกลุ่มเชิงลำดับชั้น
ปัจจัยไม่พึงประสงค์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ดวงกมล จุลกะเศียน. 2562. "การพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยเทคนิคการประเมินแบบสองขั้นตอน." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ดวงกมล จุลกะเศียน_T185847_ 2561
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าแบบสองขั้นตอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีตัวแบบมีปัจจัยไม่พึงประสงค์ และการจัดกลุ่มตามลำดับชั้น รวมทั้งนำเสนอกลยุทย์การจัดสรรรถยนต์เช่า โดยทดลองใช้งานจริงกับกรณีรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งจำนวน 104 แห่ง และใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศของหน่วยงานร่วมกับบริษัทที่ให้เช่ารถยนต์ ประกอบด้วยค่าเช่ารถยนต์ ระยะทางที่ใช้งานทั้งหมด ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เป็นปัจจัยพึงประสงค์ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมจากอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยไม่พึงประสงค์ โดยนำมาหาค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีตัวแบบมีปัจจัยไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีผลบวกผกผัน และคัดแยกข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตามลำดับชั้น โดยกำหนดเกณฑ์จากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดสินใจจากผู้ประเมิน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการประเมินประสิทธิภาพแบบสองขั้นตอน ทำให้สามารถคำนวณและจัดกลุ่มค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพต่ำ กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพปานกลาง และกลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพสูง และนำผลการจัดกลุ่มค่าคะแนนประสิทธิภาพมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการจัดสรรรถยนต์เช่าให้กับหน่วยตัดสินใจ ด้วยการใช้แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ซึ่งกลยุทธ์จัดสรรรถยนต์เช่าที่สามารถกำหนดให้กับหน่วยตัดสินใจ ได้แก่ กลยุทธ์การตัดทอน กลยุทธ์ผสมผสาน และกลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ เพื่อให้แต่ละหน่วยตัดสินใจสามารถใช้ งานรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณ
Description: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2561.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6616
Appears in Collections:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CLS-ดวงกมล จุลกะเศียน-T185847-2561.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.