แนวทางป้องปรามผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
กำลังโหลด...
วันที่
2563
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหามาตรการป้องปรามทางอาญาที่จะใช้บังคับกับสื่อมวลชน การลงโทษปรับในการที่สื่อมวลชนละเมิดสิทธิส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับสังคม
ในปัจจุบันและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ได้กำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายในกรณีที่สื่อมวลชนออกอากาศเป็นเท็จหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลไว้ ในมาตรา 40 แต่ในพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีมาตรการป้องปรามและมาตรการทางอาญาที่จะใช้บังคับกับสื่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบันมาตรการทางอาญา ซึ่งผู้เสียหายใช้สิทธิการที่สื่อมวลชน หมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา โดยมีการฟ้องสื่อมวลชนขึ้นสู่ชั้นศาล ทั้งนี้ จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้แก่สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พบว่าประเทศเหล่านี้มีแนวทางการป้องปรามสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารอันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ที่ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
คำอธิบาย
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกนำเสนอข่าว, การสื่อสาร, หลักกฎหมายความรับผิดเกี่ยวกับสื่อละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามกฎหมาย
การอ้างอิง
ธวัชชัย งามเลิศ. 2563. "แนวทางป้องปรามผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.